Page 195 - kpi17721
P. 195

อีกทั้งยังกล่าวได้ว่า งานด้านสุขภาพยังเป็นภารกิจที่สามารถสร้างผลงานและความนิยมให้แก่

           นักการเมืองท้องถิ่นด้วย

                 สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลให้ความยั่งยืนของนวัตกรรมในระดับพื้นที่มีความเป็นไปได้เนื่องจากเป็น
     ท้องถิ่นใจดี  โครงการที่มีแผนงานและงบประมาณรองรับ ตลอดจนมีการสร้างความร่วมมือแบบเครือข่ายอย่าง


           เป็นรูปธรรม ซึ่งมีการกำหนดบทบาทและภารกิจไว้อย่างชัดเจน ดังเช่น การทำข้อตกลงความร่วมมือ
           (MOU) กับหน่วยงานราชการดังที่ได้กล่าวมา รวมไปถึงการดำเนินงานทำโดยประชาชนตั้งแต่ระดับ

           ครัวเรือนจนถึงระดับผู้ประกอบการ ทำให้โครงการนี้จะยังคงดำเนินต่อไปเพราะได้รับการขับเคลื่อน
           จนเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะผลที่มีต่อการแก้ไขปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพที่ดีแก่ประชาชน ทั้งนี้มี
           ความเชื่อว่า ในอนาคตแม้นโยบายหรือผู้บริหาร อบต.จะเปลี่ยนไป แต่การศึกษาดูงานและการถ่าย
           ทอดนวัตกรรมก็สามารถเรียนรู้จากประชาชนหรือผู้ผลิตได้โดยตรง  ซึ่งผลจากกระบวนการเรียนรู้
                                                                 23
           ร่วมกันทำให้องค์ความรู้และแนวทางบริหารจัดการจึงไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่ที่ภาคส่วนใดส่วนหนึ่ง
           หากแต่สามารถขยายกลุ่มหรือเครือข่ายการเรียนรู้นวัตกรรมออกไปได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น


           บทสรุป

     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
                 จากนวัตกรรมต้นแบบการแก้ไขปัญหาโรคเอ๋อและโรคขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืน ของ

           องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ ดังที่ได้นำเสนอมา นอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่ม
           และศักยภาพในการให้บริการสาธารณะที่มีความโดดเด่นในเรื่องการประสานงานและบริหารจัดการ
           เครือข่ายเพื่อสนองตอบต่อความต้องการและแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนในพื้นที่แล้ว นวัตกรรม

           ดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงการก้าวข้ามข้อจำกัดตลอดจนความท้าทายต่างๆ ด้วยการอาศัยการทำงานของ
           เครือข่ายที่ผลักดันให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามาสร้างความร่วมมือและต่อยอดการดำเนินการที่ไม่เพียง
           ทำให้โครงการสามารถดำเนินไปได้  แต่ยังสามารถผลักดันให้เกิดผลยั่งยืนทั้งต่อการป้องกันและ

           แก้ปัญหาเท่านั้น หากแต่ยังก้าวไปถึงการปรับทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
           ที่สามารถดูแลสุขภาพของตนเองอันถือเป็นแนวทางที่สร้างให้เกิดการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

                 อย่างไรก็ดี  ในแง่ทฤษฎีแล้ว หากพิจารณาลักษณะการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของ

           หน่วยงานภาครัฐตามแนวคิดของ โกลสมิธ และ เอกเกอร์ (Stephen Goldsmith and William
           D.Eggers) แล้ว กล่าวได้ว่า นวัตกรรมต้นแบบการแก้ไขปัญหาโรคเอ๋อและโรคขาดสารไอโอดีนอย่าง
           ยั่งยืน ของ อบต.นาพู่ นั้น มีความใกล้เคียงกับรูปแบบของการดำเนินกิจกรรมสาธารณะที่ดำเนินการ

           ผ่านเครือข่าย (Networked government)   ซึ่งมีขีดความสามารถในการจัดการเครือข่ายในระดับ
                                              24
                 23   สัมภาษณ์ มงคล วงษ์อาษา, อ้างแล้ว.
                 24   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Stephen Goldsmith and William D.Eggers, Governing by Network,
           (Washington DC : Brookings Institution Press,2004).



      188      สถาบันพระปกเกล้า
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200