Page 194 - kpi17721
P. 194

ปัจจัยความสำเร็จ


                     เงื่อนไขหลักที่นำไปสู่ผลสำเร็จของการดำเนินนวัตกรรมนี้ มีปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่

                     (1) ตรงกับความต้องการหรือปัญหาในพื้นที่และสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ

               นวัตกรรมนี้ถือได้ว่ามีที่มาจากเป้าหมายในการแก้ปัญหาในพื้นที่ ประกอบกับผู้ได้รับผลกระทบจาก  ท้องถิ่นใจดี
               ปัญหาเกิดขึ้นในวงกว้างจึงทำให้การยอมรับและการสนับสนุนในการดำเนินโครงการเป็นไปได้
               โดยราบรื่น นอกจากนี้แล้วยังถือว่าประเด็นเรื่องสุขภาวะและสุขภาพอนามัย เป็นบริการสาธารณะ

               ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐ ดังเช่น การดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่เป็นไปตาม
               แนวทางสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและกองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับ
               การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ตลอดจนงานอนามัยแม่และเด็ก ที่ดำเนินการผ่านกลไกกองทุน

               สุขภาพตำบล อันเป็นกลไกระดับพื้นที่ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในท้องถิ่น เป็นผลให้การขอ
               ความร่วมมือหรือระดมทรัพยากรในการดำเนินการจากกองทุนหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งทางด้าน
               สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นไปได้โดยระเบียบและกลไกทางราชการเนื่องจากอยู่ใน

               ขอบเขตภารกิจที่หน่วยงานเหล่านั้นมีอำนาจหน้าที่ อีกทั้งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของโครงการและ
               มีมาตรการดำเนินการที่ชัดเจนจึงทำให้การดำเนินนวัตกรรม โดยเฉพาะในส่วนของปฏิบัติงาน
               การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์เป็นไปได้ด้วยดี 21


                     นอกจากนี้แล้ว การดำเนินนวัตกรรมนี้ยังเชื่อมโยงกับ ภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่
               ซึ่งไม่ใช่เพียงแหล่งทุนหรือผู้ให้การสนับสนุนเป็นครั้งคราว ดังที่เกิดขึ้นกับการทำกิจกรรมสาธารณะ
               อื่นๆ ที่ปรากฏในท้องถิ่นโดยทั่วไป หากแต่นวัตกรรมนี้เป็นการยกระดับบทบาทของทั้งภาคเอกชน

               และภาคประชาชนให้เข้ามาเป็นผู้ดำเนินงานทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยใช้กลไกทางเศรษฐกิจ  การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
               เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งหนึ่งในการขับเคลื่อน

                      (2) เสถียรภาพทางการเมืองและภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนการดำเนินงานที่มีการ

               บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและสภา อบต.ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ให้
                                            22
               ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุข  ประกอบกับการดำรงตำแหน่งและดำเนินนโยบายที่ต่อเนื่อง
               ของนายก อบต. ได้นำไปสู่การให้ความสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆของนวัตกรรมการแก้ไขปัญหา

               โรคเอ๋อและโรคขาดสารไอโอดีน ที่สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของ
               นวัตกรรมให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรูปธรรมที่เกิดขึ้นคือ การระดมทรัพยากรในการบริหาร
               จัดการ ทั้งบุคลากรและงบประมาณ ตลอดจนกระบวนการติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง




                     21   สัมภาษณ์ ประสงค์ ชัยชนะ และ ประจักร บัวผัน, 20 สิงหาคม 2558.
                     22   สัมภาษณ์ ปัณณวิชญ์ สุภโตษะ, อ้างแล้ว.




                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  18
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199