Page 16 - kpi17721
P. 16
อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งเสริมการเข้าถึงบริการสาธารณะสำหรับ
กลุ่มด้อยโอกาสทางสังคมก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นความพยามสร้างเครือข่ายการทำงาน
เชิงบูรณาการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยโครงการเครือข่ายคนพิการ เทศบาลเมือง
หนองปรือ จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการแบบบูรณาการ
ทั้งด้านสุขภาพ อนามัย การศึกษา การสร้างรายได้สำหรับการครองชีพ รวมถึงสวัสดิการสังคม ท้องถิ่นใจดี
รูปแบบต่างๆที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต นอกจากนี้ เครือข่ายในการทำงานสำหรับผู้พิการ
ยังต้องการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้รูปแบบการดูแลที่เหมาะสมกับผู้พิการที่มี
ความแตกต่างกัน
เช่นที่กล่าวมาข้างต้น เครือข่ายที่เทศบาลเมืองหนองปรือสร้างขึ้นมาเพื่อการดูแลผู้พิการส่งผล
ต่อการสร้างฐานของการเข้ามาร่วมให้การดูแลผู้พิการอย่างกว้างขวาง โดยเป็นเครือข่ายการทำงาน
เชิงสหวิชาชีพ ทั้งเครือข่ายดูแลเด็กพิการ เครือข่ายอาสาสมัครดูแลคนพิการในชุมชน กลุ่มเด็กพิเศษ
และชมรมผู้ปกครองเพื่อเด็กพิเศษ สิ่งที่น่าสนใจของโครงการดังกล่าวคือ ความสามารถในการระดม
ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้พิการได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะที่มาจากภาคเอกชนและ
ภาคประชาสังคม เช่นที่เห็นได้ในโครงการอาชาบำบัด ซึ่งเป็นการนำม้ามาช่วยบำบัดการเคลื่อนไหว
ของเด็กพิการ โดยมีเครือข่ายการทำงานมาจากสโมสรยิงปืนพัทยา อาสาสมัครดูแลคนพิการ มูลนิธิ
พระมหาไถ่ คลินิกมิตรไมตรี ชมรมผู้ปกครองเพื่อเด็กพิเศษ และกลุ่มออมวันละบาท เป็นต้น โดย
ชี้ให้เห็นว่าการทำงานอย่างเป็นเครือข่ายที่มาจากความเชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ย่อมทำให้กลุ่มเป้าหมาย
ของโครงการได้รับประโยชน์เต็มที่
นอกจากนี้ เครือข่ายการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับชุมชนก็ไม่ได้มีเพียงงานที่
เกี่ยวกับการสาธารณสุขเท่านั้น เพราะมิติของสวัสดิการสังคมที่เป็นการบริหารจัดการโดยชุมชนก็เป็น
อีกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความโดดเด่นในการทำงานแบบเครือข่าย โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นแกนกลางของโครงการ นั่นคือ กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพลูตาหลวง องค์การบริหาร
ส่วนตำบลพลูตาหลวง จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมเงินออมทรัพย์มให้กับสมาชิก
กองทุนที่อยู่ในชุมชน ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันต่อการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต
และเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับสมาชิกที่เดือดร้อนและอยู่ในภาวะคับขัน
ความโดดเด่นของโครงการดังกล่าวคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการทำ
หน้าที่ที่แตกต่างกันภายในกองทุน ซึ่งสมาชิกของกองทุนสามารถเข้าเป็นกรรมการชุดต่างๆ ของ
กองทุนได้ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการที่ปรึกษากองทุน คณะกรรมการ
ตรวจสอบกองทุน ความสำเร็จของโครงการดังกล่าวเห็นได้จากความสามารถในการพัฒนาจาก
โครงการสวัสดิการชุมชนของตำบลมาเป็นกองทุนที่ให้ความช่วยเหลือทางแก่คนในชุมชนได้ โดยทำให้
คนในชุมชนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของกองทุนในการรับผิดชอบร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสามารถขยาย
สถาบันพระปกเกล้า