Page 11 - kpi17721
P. 11
ที่จะนำเอาทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ชายขอบเข้ามาอยู่ในกระบวนการได้อย่างแท้จริง ด้วยกรอบ
ของการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นนี้ การนำเอาทุกกลุ่มของสังคมหรือชุมชนเข้ามาอยู่ในกระบวนการ
พัฒนาภายในท้องถิ่นจึงมีความสำคัญในแง่ของการสร้างพลังให้กับกลุ่มคนต่างๆ ได้เข้ามามี
ท้องถิ่นใจดี ส่วนร่วมด้วยสำนึกของการเป็นส่วนหนึ่ง (sense of belonging)
ในขณะเดียวกัน ภายใต้กรอบของการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับการกระจายอำนาจ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นไทยก็มีหน้าที่สำคัญคือ การลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทซึ่งเป็นปัญหาหลัก
ของสังคมไทยที่นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำมาช้านาน การกระจายอำนาจจึงเป็นทางเลือกที่เห็นพ้องกัน
ว่าเป็นหนทางสำคัญของการลดความเหลื่อมล้ำที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย ปรากฏการณ์ที่เป็นสากล
ซึ่งมีผลต่อทิศทางการพัฒนาของไทยในทศวรรษนี้คือการทำให้การพัฒนาสามารถผนวกรวมเอา
ทุกภาคส่วนเข้ามาอยู่ในกระบวนการทำให้เกิดความเท่าเทียม
ดังนั้น การพัฒนาอันเป็นผลมาจากการกระจายอำนาจในฐานะที่เป็นเครื่องมือลดช่องว่าง
ระหว่างเมืองกับชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงอยู่ในฐานะของการเป็น “ตัวกลางการพัฒนา”
ที่มีเงื่อนไขสำคัญคือการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม กรอบความคิดเรื่องการเป็นตัวกลาง
การพัฒนานี่เอง ที่ทำให้ฐานะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยทำหน้าที่เป็นพื้นที่ของการปรับ
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับชุมชนท้องถิ่นในรูปแบบใหม่บนฐานของอำนาจหน้าที่ที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ โดยน่าสนใจว่าอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งผลต่อ
รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายต่างๆในท้องถิ่นที่อยู่บนฐานของการเป็นตัวกลางการพัฒนา
ภายในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ดังที่อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ชี้ให้เห็นเครือข่ายความสัมพันธ์ระดับ
1
ท้องถิ่นอันเป็นผลมาจากการมีอำนาจในการจัดการบริการสาธารณะมีลักษณะสำคัญดังนี้
ด้านแรกคือ การให้บริการขั้นพื้นฐานที่ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิต หรืออีกแง่หนึ่งคือ
การจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง
ไม่ว่าจะเป็นการสาธารณสุข การจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับความต้องการโดยมีคุณภาพและเป็นที่
ยอมรับ บริการสาธารณะดังกล่าวถือเป็นหน้าที่พื้นฐานของท้องถิ่นที่พึงทำเพื่อทำให้ประชาชนในเขต
รับผิดชอบของตนเองมีความเป็นอยู่ที่ดี สิ่งที่น่าสนใจคือ ท้องถิ่นที่สามารถสร้างนวัตกรรมของการจัด
บริการสาธารณะได้โดดเด่นมักจะมีการศึกษาความเหมาะสมในพื้นที่ของตนเองมาก่อน และแน่นอน
ว่าวิสัยทัศน์ของผู้บริหารท้องถิ่นก็เป็นปัจจัยสำคัญของการกำหนดทิศทางการทำงานของท้องถิ่นไปสู่
เป้าหมายของการจัดบริการสาธารณะที่โดดเด่น
1 อรรถจักร สัตยานุรักษ์, “ความเปลี่ยนแปลงในชนบท: การเคลื่อนเข้าสู่ประชาธิปไตย,” ใน ปาฐกถา 100 ปี
ป๋วย อึ๊งภากรณ์, ปกป้อง จันวิทย์, บรรณาธิการ (กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2559), หน้า 267.
สถาบันพระปกเกล้า