Page 12 - kpi17721
P. 12
ด้านต่อมา การสร้างโอกาสและทางเลือกให้กับผู้ประกอบการใหม่ภายในท้องถิ่น ซึ่งเห็นได้
ค่อนข้างชัดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม
ต่างๆ ในชุมชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชนท้องถิ่นซึ่งมีฐานการผลิต
มาจากการเกษตร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การท่องเที่ยวชุมชน แหล่งเรียนรู้ของชุมชน
เป็นต้น ในด้านดังกล่าวย่อมมีความเชื่อมโยงกับการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ ท้องถิ่นใจดี
ที่อยู่ในรูปของทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ประโยชน์มากขึ้น จนทำให้เห็นว่าองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นบางแห่งสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาชุมชนได้ในระดับ
การสร้างความร่วมมือแบบภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างครบวงจร กล่าวคือทั้งในแง่ขององค์กร
ที่เข้ามาร่วมทำงาน และขอบเขตของงานที่ทำ 2
ด้านสุดท้ายคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำให้ท้องถิ่นอยู่ในสภาพที่มี
ความพร้อมต่อการพัฒนาที่ครอบคลุมด้านต่างๆ เช่น ด้านกายภาพที่มีการสร้างถนนหนทาง หรือ
ระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็น และด้านที่เป็นการพัฒนาโครงสร้างที่เอื้อต่อการเชื่อมต่อกับการผลิต
ระดับที่สูงกว่าชุมชนขึ้นไป เช่น การจัดตั้งกลุ่มหรือกองทุนที่ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ความ
ช่วยเหลือภายในชุมชน เป็นต้น
หากมองด้วยกรอบความคิดดังกล่าวก็จะพบว่ามีผลต่อการปรับความสัมพันธ์การทำงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอัตโนมัติ เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้อยู่ในฐานะของ
ผู้จัดบริการให้ประชาชนแต่ฝ่ายเดียว แต่ยังต้องทำหน้าที่ดึงเอาความร่วมมือ และกำหนดรูปแบบ
การทำงานแบบเครือข่ายที่รวมเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมในการจัดบริการ
สาธารณะด้วย เหตุเช่นนี้ย่อมทำให้มิติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในสภาพของการเป็น
ตัวกลางในการพัฒนาไปโดยปริยาย
มองความไม่เท่าเทียมทางสังคมมาจากข้างใน
การแก้ไขจึงต้องมาจากท้องถิ่นเอง
จากกรอบความคิดข้างต้น การกระจายอำนาจจึงไม่ใช่เพียงเครื่องมือของการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในแต่ละชุมชนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการชุมชนตนเองตามรูปแบบการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ความสำคัญของการปกครองท้องถิ่นยังเชื่อมไปสู่การพัฒนา
คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่เพื่อความเป็นธรรมทางสังคมด้วยหน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดและเอื้อให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด
2 ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งสามารถสร้างความร่วมมือในการทำงานกับหน่วยงานหรือ
องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาสังคมอยู่หลายแห่ง ที่เห็นได้ชัดเจน
เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล เทศบาลนครเชียงรายที่มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทางด้าน
สิ่งแวดล้อมอันมาจากการเข้าไปร่วมขับเคลื่อนในรูปแบบความร่วมมือ
สถาบันพระปกเกล้า 5