Page 13 - kpi17721
P. 13

การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมทางสังคมจึงถือได้ว่าเป็นหน้าที่โดยตรงขององค์กรปกครอง

           ส่วนท้องถิ่นในฐานะหน่วยจัดการส่วนหน้าของรัฐ การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้วยกลไกของการ
           ปกครองส่วนท้องถิ่นนับว่าเป็นพัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นด้านหนึ่ง เพราะสามารถจัดการ
     ท้องถิ่นใจดี  ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องรออำนาจหน้าที่มาจากส่วนกลาง การริเริ่ม

           การจัดบริการสาธารณะที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองก็ถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ โดยเห็นได้ว่า
           บริการสาธารณะที่โดดเด่นของแต่ละท้องถิ่นมักจะมาจากการศึกษาปัญหาในพื้นที่แล้วกำหนด
           ประเด็นที่ตรงกับการแก้ไขปัญหานั้นด้วยศักยภาพของท้องถิ่นที่สามารถจัดการกับปัญหานั้นได้มาก

           กว่ากลไกของส่วนกลางหรือกระทั่งส่วนภูมิภาค

                 ในหนังสือเรื่อง ท้องถิ่นใจดี: บริการสาธารณะเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม ซึ่งเป็นการ
           รวบรวมเอาโครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการสาธารณะที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้า

           ทองคำ และรางวัลพระปกเกล้าด้านต่างๆ ประจำปี 2557 มาเป็นตัวอย่างของการแสดงให้เห็น
           ขอบเขตของบริการสาธารณะที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคม โดยมีโครงการ

           มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 15 แห่ง จำแนกออกตามประเภทบริการสาธารณะ
           ด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีและได้มาตรฐาน การส่งเสริมคุณค่า
           ประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลที่เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมจัดการภายในชุมชน การรื้อฟื้นคุณค่าของ
           ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือแม้แต่ประเด็นท้าทายร่วมสมัยอย่างการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์

           เป็นต้น

                 นอกจากนี้ หากจำแนกผลของบริการสาธารณะออกเป็นรูปธรรมแล้ว โครงการส่วนใหญ่
           จะปรากฏในรูปของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เน้นความเป็นอยู่ที่ได้มาตรฐาน เช่น การสาธารณสุข

           การจัดการเมืองให้รองรับความต้องการของคนทุกกลุ่ม หากแต่ด้านที่เป็นการพัฒนาเชิงคุณค่า ก็พบว่า
           เน้นในเรื่องค่านิยมทางสังคม เช่น การเรียนรู้ประชาธิปไตย การสร้างธรรมาภิบาล การส่งเสริม

           สันติสุขก็เป็นประเด็นที่ท้องถิ่นจัดเป็นงานบริการสาธารณะด้วยเช่นกันโดยเปลี่ยนแปลงไปตาม
           ลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ดังที่หนังสือเล่มนี้ได้จำแนกออกเป็นด้านต่างๆ โดยโครงการที่เกิดขึ้น
           ในองค์กรปกครองท้องถิ่นแต่ละแห่งยังได้มีข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับพื้นที่เพื่อให้เข้าใจบริบทของ
           การทำงานหรือกระทั่งที่มาของโครงการได้มากขึ้น ดังนี้


           1.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม

                 เมืองที่ดีย่อมต้องคำนึงความปลอดภัยของประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการอำนวย
           ความสะดวกให้กับกลุ่มที่ต้องได้รับการช่วยเหลือในการใช้บริการสาธารณะ โครงการขอนแก่น

           เมืองใจดี การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล เทศบาลนครขอนแก่น เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็น
           ความตั้งใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คำนึงถึงผู้คนหลายกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้พื้นที่สาธารณะ





               สถาบันพระปกเกล้า
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18