Page 14 - kpi17721
P. 14
ด้วยการสร้างความปลอดภัยให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ และกลุ่มเพศ
ที่สาม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตนอกบ้านได้อย่างสะดวก การออกแบบเมืองให้รองรับความต้องการ
ของคนเหล่านั้นด้วยแนวคิดอารยสถาปัตย์ (universal design) การออกแบบเมืองเช่นนี้สะท้อนให้
เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถจัดบริการสาธารณะที่เป็นความห่วงใยเช่นเดียวกับ
เมืองใหญ่ในต่างประเทศได้ โดยเทศบาลนครขอนแก่นเริ่มจากการสร้างทางลาดในพื้นที่สาธารณะต่างที่ ท้องถิ่นใจดี
รองรับความต้องการของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็น เช่น สำนักงานเทศบาล
สวนสาธารณะ สถานีขนส่ง นอกจากนี้ยังมีการประสานเพื่อความร่วมมือในการทำงานให้บรรลุ
เป้าหมายของการทำให้ขอนแก่นเป็นเมืองใจดีกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐ เช่น โรงพยาบาล
มหาวิทยาลัย เพื่อการปรับปรุงพื้นที่เชิงกายภาพให้เหมาะสมกับผู้ที่มีความจำเป็น ภาคเอกชน และ
ภาคประชาสังคมที่มาจากเครือข่ายผู้พิการเพื่อมาสะท้อนความต้องการและร่วมกันออกแบบเมือง
ขอนแก่นให้เป็นมิตรกับผู้พิการโดยแท้จริง รวมทั้งการให้ความรู้แก่สาธารณชนในเทศบาลต่อการ
ทำให้ขอนแก่นเป็นเมืองอารยสถาปัตย์
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ทำให้หลายพื้นที่กลายเป็นเมืองมากขึ้น การโยกย้ายเข้าเมืองของ
กลุ่มแรงงานจึงมีมากขึ้น หลายพื้นที่ของชนบทและเมืองของสังคมไทยมีกลุ่มผู้สูงอายุอยู่อาศัยโดย
ลำพังเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับในพื้นที่ชนบทก็มีปัญหาการดูแลคุณภาพชีวิตซึ่งขาดมาตรฐานที่ดี ล้วน
แล้วแต่เป็นบริการสาธารณะด้านที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปจัดการในปัจจุบัน
โครงการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครนนทบุรี เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้
ให้เห็นแนวทางการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง จากการที่จังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็น
เขตเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานครเติบโตมากขึ้น การเป็นครอบครัวขยายทำให้ผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยใน
เขตเมืองมีเวลาว่างมากกว่ากลุ่มวัยอื่น เทศบาลนครนนทบุรีจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพราะไม่ได้ต้องการให้
เป็นแค่เพียงการดูแลผู้สูงอายุในเมืองซึ่งเป็นเขตบริการสาธารณะของตนโดยเทศบาลนครนนทบุรี
แต่เพียงหน่วยงานเดียว ด้วยตระหนักว่าเทศบาลไม่สามารถให้การดูแลผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึงและ
มีคุณภาพ จึงเป็นที่มาของการจัดบริการสาธารณะในรูปแบบของการทำงานเป็นเครือข่ายจาก
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ เช่น หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานเอกชนที่มี
ประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองเช่นเมืองพัทยา จังหวัด
ชลบุรีที่ร่วมกันทำงานในโครงการเมืองเป็นมิตรกับผู้สูงอายุเพื่อเป็นการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ระหว่างเมือง
การทำงานในโครงการดังกล่าวเห็นได้ชัดจากการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขึ้น
โดยเป็นศูนย์ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม ทั้งกิจกรรมสันทนาการ และการดูแลสุขภาพด้วย
บุคลากรทางการแพทย์ภายในศูนย์ นอกจากนั้น การดูแลที่ครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนรอบ
เขตเทศบาลก็เป็นอีกขอบข่ายงานที่เทศบาลนครนนทบุรีได้จัดบุคลกรการแพทย์ เจ้าหน้าที่เทศบาล
สถาบันพระปกเกล้า