Page 20 - kpi17721
P. 20
.
การส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น
หลายพื้นที่ของท้องถิ่นไทยในปัจจุบันหันไปนำเอาความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมมาใช้ในหลาย
รูปแบบทั้งการนำเอาความเป็นมาของพื้นที่ตนเองมาเล่าประกอบการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยว
ที่รื้อฟื้นหรือสร้างขึ้นมาใหม่ และยังสามารถสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาพื้นที่ด้วย
กระบวนการศึกษาเชิงวิจัย นอกจากนี้ ความเป็นมาของสถานที่ย่อมถูกใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่มี ท้องถิ่นใจดี
อยู่เดิมให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นผ่านการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ร่วมกันอีกด้วย
ตัวอย่างที่หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอมาจากจังหวัดเดียวกันคือสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองโบราณ
โครงการที่โดดเด่นจึงเกี่ยวข้องกับการเน้นความรู้และทุนดั้งเดิมของพื้นที่เพื่อนำมาขับเคลื่อนให้มี
ความน่าสนใจมากขึ้น โดยมาจากโครงการ เครือข่ายการเสริมสร้างค่านิยมการท่องเที่ยวสุโขทัย
เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย หรือ อบจ.ชวนเที่ยว ที่มี
ความโดดเด่นเรื่องการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ด้วยการแบ่งบทบาท
หน้าที่ในรูปแบบ “ชมรมสามพี่น้องท้องถิ่นไทยจังหวัดสุโขทัย” ซึ่งเป็นการรวมเอาองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุโขทัยทั้งสิ้น 91 แห่งมาทำงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด โดย
เริ่มจากการค้นหาลักษณะเด่นของแต่ละอำเภอก่อนที่จะขยายผลไปสู่การชูเป็นจุดขายของพื้นที่นั้น
ในการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวระยะยาวโดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัยทำหน้าที่ชักชวน
องค์กรต่างๆ ในจังหวัดเข้ามาทำงานร่วมกัน
ในทางเดียวกัน การต่อยอดจากทุนทางสังคมเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่เช่นการมีสถานที่ท่องเที่ยว
อันเป็นที่รู้จักด้วยการศึกษาค้นคว้าเพื่อทราบความเป็นมาของสถานที่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการ
ทำให้การท่องเที่ยวมีความน่าสนใจมากขึ้น เช่นที่เห็นได้จากโครงการ การสร้างแหล่งท่องเที่ยว
เพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมโดยเครือข่ายนักวิจัยชุมชนโบราณเมืองบางขลัง 9 หมู่บ้าน
เทศบาลตำบลเมืองบางขลัง มีจุดมุ่งหมายเพื่อการทำให้สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นโบราณสถานของ
ชุมชนได้รับการบอกเล่าว่ามีความเป็นมาอย่างไร เพราะที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม
โบราณสถาน แต่กลับไม่ทราบประวัติของสถานที่นั้นเป็นลายลักษณ์อักษร เทศบาลตำบลเมืองบางขลัง
จึงได้ริเริ่มโครงการขึ้นมาโดยการชักชวนเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมกันศึกษา โดยเฉพาะจากสถาบัน
การศึกษาเข้ามาช่วยทำให้นักวิจัยชุมชนซึ่งมาจากคนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของ
ชุมชนตนเอง แล้วยังสามารถทำให้ความเป็นมาของสถานที่ได้รับการเผยแพร่มากขึ้นกว่าเดิม
5.
การจัดการความขัดแย้งและการส่งเสริมสังคมสันติสุข
เพราะความขัดแย้งมักจะส่งผลต่อการอยู่ร่วมกัน การหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
จึงเป็นทางเลือกสำคัญของการจัดการความขัดแย้ง เช่นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสนใจ
ต่อการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขมากขึ้น โครงการแรกที่ยกมานำเสนอคือ การมีส่วนร่วม
สถาบันพระปกเกล้า 1