Page 21 - kpi17721
P. 21
จัดระเบียบพ่อค้าแม่ค้าตลาดโต้รุ่ง เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นกรณีที่เทศบาลเข้าไปจัดระเบียบ
ร้านค้าในตลาดโต้รุ่งด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในตลาด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิด
ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการย้ายตลาดโต้รุ่งไปที่ใหม่ซึ่งอาจมีข้อพิพาทอันมาจากความได้เปรียบ
ท้องถิ่นใจดี ความโดดเด่นของโครงการดังกล่าวคือนอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพของตลาดสดให้ได้
และเสียเปรียบของแผงค้าได้
มาตรฐานจากการย้ายตลาดโต้รุ่งที่เก่ามาที่ใหม่แล้ว ยังเป็นการทำให้การจัดระเบียบตลาดโต้รุ่งซึ่งเป็น
เรื่องทีเกี่ยวข้องโดยตรงกับการต่อรองของผู้ประกอบการที่ต้องการแผงค้าที่เอื้อต่อการสร้างกำไรให้
กับตนเองได้มากที่สุด แน่นอนว่ามีความซับซ้อนต่อการจัดการความขัดแย้งตามมา แต่เทศบาลเมือง
กาฬสินธุ์ก็สามารถจัดการได้ด้วยการทำให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเงื่อนไขและ
กติกาของการขายอาหารในตลาดโต้รุ่งด้วยตัวเอง สะท้อนให้เห็นว่ากติกาที่มาจากความเห็นพ้อง
ย่อมนำไปสู่ความยินยอมที่จะปฏิบัติตามกฎของตนเอง
ในทางเดียวกัน การป้องกันความขัดแย้งอาจจะปรากฏอยู่ในรูปของการทำให้คนที่มีความ
แตกต่างทางวัฒนธรรมเข้าใจอัตลักษณ์ของคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต่างจากตนเองด้วยการสร้างหรือทำให้
พื้นที่ของวัฒนธรรมเป็นสาธารณะมากกว่าพื้นที่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่นที่เห็นได้จาก การประกวด
เชิดสิงโตบนเสาดอกเหมย และการทดสอบกอรีอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน ระดับภาคใต้
และระดับประเทศ เทศบาลเมืองปัตตานี สะท้อนให้เห็นว่าการทำงานในสถานการณ์ไม่ปกติ
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ถือเป็นความละเอียดอ่อนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องตระหนัก
เพราะสถานการณ์ของความไม่ไว้วางใจกันย่อมทำให้การจัดกิจกรรมในพื้นที่ต้องคำนึงถึงการจัดการ
ความรู้สึกของคนในพื้นที่ว่าได้รับการปฏิบัติด้วยความเท่าเทียม กิจกรรมที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้
มาจาก 2 วัฒนธรรมคือ วัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน และกิจกรรมทางศาสนาอิสลาม การส่งเสริม
กิจกรรมดังกล่าวของเทศบาลเมืองปัตตานีจึงถือเป็นความพยายามในการทำให้อัตลักษณ์ของ
วัฒนธรรมหลักในพื้นที่ของความหลากหลายได้ปรากฏตัวเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับคนใน
พื้นที่และสังคมไทยได้เห็นว่า แม้จะอยู่ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เมือง ท้องถิ่นใจดี: การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
ปัตตานีซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็สามารถทำให้ผู้คนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและ
ชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันได้
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างโครงการเด่นทางด้านสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งรวบรวม
ไว้ในหนังสือเล่มนี้มาจากการถอดบทเรียนโดยผู้เขียนที่หลากหลายซึ่งให้มุมมองที่อยู่บนข้อมูลของ
แต่ละแห่ง โดยงานชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการบริหารงานที่เป็นเลิศขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2558 จัดทำโดยวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า โดย
หนังสือเล่มนี้ได้นำเอาการถอดบทเรียนทึ่คัดมาจากโครงการต่างๆ มานำเสนอแบ่งเป็น 5 ด้านของการ
ส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคมตามที่ปรากฏอยู่ในส่วนถัดไป
1 สถาบันพระปกเกล้า