Page 71 - kpi17073
P. 71

70     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  รัฏฐาธิปัตย์ก็อย่าชะล่าใจ เพราะคนไทยก็สามารถหมุนกลับไปเป็นประชาธิปไตยระบบเลือกตั้ง
                  ได้เช่นกัน บางพวกก็ชื่นชมประชาธิปไตย แต่พอเบื่อๆ ก็อยากให้ทหารเข้ามา บางพวกเบื่อๆ

                  ทหารก็อยากให้มีประชาธิปไตย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ หลายๆ ที่ก็เป็น ในแอฟริกาหรืออเมริกาใต้ก็มี
                  โดยสังคมไทยมันมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ สมัยตอนที่ผมอยู่ในขบวนการ 14 ตุลา พวกเราจบการ
                  ศึกษาชั้นประถมหรือเป็นพวกที่ยังเรียนไม่จบกันทั้งนั้น ก็ถือเป็นปัญญาชน ซึ่งในปัจจุบันม็อบสมัยนี้

                  จบ ป.ตรี ป.โทกันทั้งนั้น ซึ่งในสมัย 14 ตุลา ผมไม่เคยรู้จักหรอกว่ามีคำว่า ชนชั้นกลาง เพราะ
                  เห็นแต่นักศึกษา มองการต่อสู้ของพลเรือนกับทหาร แต่พอในสมัยปี 2535 ก็เริ่มมีชนชั้นกลาง

                  เข้ามาร่วมประท้วงอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมา ในสมัยปี 2549 ก็เริ่มมีชนชั้นล่างเข้ามาประท้วงกันแล้ว

                       โดยในความหมายของตะวันตก ชนชั้นล่างมีจำนวนมากกว่าชนชั้นกลาง แต่ในสังคมไทย

                  ชนชั้นกลางถือว่ามีเยอะมาก ซึ่งเต็มกรุงเทพไปหมด โดยการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยนั้นมีอยู่
                  มากและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เรามีเนื้อหาประชาธิปไตยและเนื้อหาในตัวรัฐธรรมนูญอย่างมาก

                  รวมไปถึงมีการต่อสู้แข่งขันและประนีประนอมกันตลอดเวลาซึ่งผมอาจจะไม่เห็นด้วยกับท่านวิษณุ
                  เครืองาม ในเรื่องของดุลอำนาจ เพราะผมคิดว่าสังคมไทยมันมีดุลอำนาจที่สมบูรณ์อยู่แล้ว
                  จนกระทั่งไม่มีใครเป็นนายกฯ ได้นาน ซึ่งมีนายกฯชวน นายกฯทักษิณ ที่อยู่กัน 5 ปี 6 ปี ถือว่า

                  นานมาก ตัวทหารเองก็อยู่ได้ไม่นาน ซึ่งนายกฯที่ต้องการจะอยู่นานๆ มักจะทำผิดภาระของ
                  รัฐธรรมนูญ และในการที่ประเทศเรามีดุลอำนาจมาก ทำให้สิทธิเสรีภาพก็มีอยู่มากเช่นกัน แต่ก็

                  จะมีฉันทามติในบางช่วงที่จะทำให้เรายอมที่จะเสียสละ การมีสิทธิเสรีภาพแต่อย่านานมากนักนะ
                  เพราะประชาชนจะเริ่มเบื่อ และท่านประยุทธ์ จันทร์โอชาเอง ก็สามารถรับรู้ และจับความรู้สึกนี้
                  ของประชาชนได้ และตัวท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านเทียนฉาย ก็ทำงานอย่างนั้น

                  มากกว่าใช้วิธีเทคนิคในการที่จะขับเคลื่อนการทำงานของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้สามารถ
                  ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตามเป้าหมาย รวมถึงท่านบวรศักดิ์ก็เช่นกันที่ตั้งใจทำงาน

                  จนต้องประชุม 4-5 ต่อวันติดต่อกันเสมอๆ

                       ผมก็มีอะไรที่จะเสนออยู่มาก แต่อาจจะไม่ได้แปลกใหม่อะไร ซึ่งรัฐธรรมนูญของเรา

                  ที่ผ่านมานั้น คือถ้าใครแพ้ก็แพ้หมดเลย หมายถึงว่า ถ้าแพ้การเลือกตั้งก็ต้องไปเป็นฝ่ายค้านกัน
                  หมดเลย เหมือนแบบแองโกล-แซกซันของตะวันตก แต่ในเนเธอร์แลนด์มันมีระบบผสมที่ทำงาน

                  ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะจะไม่มีฝ่ายใดเป็นฝ่ายค้านตลอดกาล ซึ่งสังคมไทยในอดีต
                  ไม่จำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาลผสม แต่ในปัจจุบันสังคมไทยเรานั้นมีความแตกแยกชัดเจนมากขึ้น
                  สังคมไทย ณ ตอนนี้น่าจะเอาความแตกแยกมารวมกันไหม เป็นไปได้ไหมถ้าเราจะจัดตั้งพรรค

                  รัฐบาลโดยมีเสียงในสภามากกว่า 3 ใน 4 ไม่ใช่แบบ 1 ใน 2 อีกต่อไป มันจะออกมาเป็นรัฐบาล
                  ผสม ซึ่งเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า มันจะออกมาเป็นรัฐบาลผสมแบบใด แต่การเมืองจะต้อง

                  เป็นเสียงข้างมากที่มากกว่าครึ่งหนึ่งให้มากๆ โดยจะมีรัฐบาลผสมที่มาจากหลายๆ พรรคที่มีความ
                  ขัดแย้งกันมาร่วมกันเป็นรัฐบาลผสม และฝ่ายค้านจะลดบทบาทลงซึ่งน่าจะลองคิดดูว่าถ้าลองใช้
                  แบบนี้  5 ปี 10 ปีได้ไหม เขียนในรัฐธรรมนูญเป็นหมวดเฉพาะกาลแล้วค่อยกลับมาเป็นแบบเดิม

                  อย่างไรก็ต้องว่ากันต่อไป และในฝ่ายรัฐบาลที่เป็นพรรคผสม จะต้องมีความคิดออกมาเป็น
                  ฉันทามติที่จะรวบรวมความขัดแย้งของสังคมและหาวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน นอกไปจากนั้น
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76