Page 68 - kpi17073
P. 68
บทเรียนสู่อนาคตเพื่อประชาธิปไตยไทยที่มีคุณภาพ
นายชวน หลีกภัย*
ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์**
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์***
นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์****
ดำเนินการอภิปรายโดย
นางสาวจอมขวัญ หลาวเพ็ชร
นายชวน หลีกภัย
ท่านผู้ดำเนินการอภิปราย ท่านคณะอาจารย์ ผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน
ผมเรียนว่า เวลาที่จำกัด ให้โอกาสพูดสิ่งที่อยากจะพูดก่อนแล้วคำถามค่อยมา
ทีหลัง ที่จริงแล้วหัวข้อที่กำหนดให้เราพูดข้างบนจะต่างไปจากหัวข้ออื่นๆ คือ
เป็นเรื่องบทเรียนสู่อนาคตเพื่อไปใช้บทเรียนสู่อนาคตประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ
ประเด็นที่ผมว่าต้องทำความเข้าใจเสียก่อน หัวข้อดูจะแปลกก็เป็นหัวข้อเล็ก
ในหัวข้อใหญ่ พลวัตแห่งดุลอำนาจ เมื่อเช้านี้ท่านวิษณุ ท่านพูดเรื่องของ
ดุลอำนาจแห่งองค์กร พวกเราอยู่ภายใต้กรอบพลวัตแห่งดุลอำนาจ เพราะฉะนั้น
เพื่อจำกัดประเด็นไม่ให้กว้างเกินกว่าความประสงค์ของโครงการนี้ และเพื่อ
ประโยชน์ตามหนังสือเชิญที่บอกว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอแนะเชิง
วิชาการเสนอต่อองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ปฏิรูปและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
คือเป็นสิ่งที่เป็นวัตถุประสงค์ ข้างบนนี้ก็มีผู้มีประสบการณ์ทั้งพิธีกร และพวกเรา
แต่ละท่านมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป ในส่วนของผม เริ่มก่อนในฐานะอายุ
มาก แต่ว่าอยู่กับดุลอำนาจมา 45 ปี ที่จริง ในสภา 219 คน เมื่อ 45 ปีที่แล้ว
ก็เหลือผมคนเดียวที่อยู่ หากจะมีประสบการณ์ที่เป็นคำแนะนำที่อาจจะไม่ตรงกับ
พวกเราอาจจะเป็นประสบการณ์จริง วันนี้คือการพูดความจริงในทางปฏิบัติ
ในทางทฤษฎีและหลักการผมเชื่อว่า อาจารย์ที่อยู่ ณ ที่นี้มีความรอบรู้มากกว่า
พวกผม แต่ในทางปฏิบัติจริง ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับตัวกฎหมายเรื่องดุลอำนาจ
หรือบุคคล ถือโอกาสเรียนเพื่อไม่ให้กว้างเกินไป ในส่วนของผมไม่พูดอีก
เราเลือกแล้ว คือ เราเลือกแล้วเมื่อ 82 ปีที่แล้วว่าเราจะปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบบรัฐสภา จึงไม่พูดเรื่อง
* อดีตนายกรัฐมนตรี
** สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
*** กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
**** สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ