Page 63 - kpi17073
P. 63
62 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ออกสามส่วน ทุกวันนี้มีฉบับเดียว กี่มาตราก็ยัดใส่ในฉบับเดียว ถามว่าทำเป็นสามส่วน สี่ส่วนได้
ประโยชน์อะไร ที่จริงถ้าผมจำไม่ผิด สเปนจะเคยมีรัฐธรรมนูญสามฉบับในเวลาเดียวกัน หลาย
ประเทศเวลานี้ เขาก็มีหลายฉบับ เกื้อกูลกัน มันจะดีกว่า เนื้อหาฉบับนี้เอาใส่ไว้ในฉบับนี้ เนื้อหา
เรื่องนี้เอาไปใส่ฉบับนั้นและการแก้ไขยากง่ายก็จะผิดกัน เช่นเรื่องพระมหากษัตริย์ ขนาดยึด
อำนาจแต่ละที ไม่มีใครกล้าแตะ คสช.ยึดอำนาจยังเก็บหมวดนี้ทั้งหมวดเลย ก็แยกเป็นหนึ่งฉบับ
แก้ให้ยากที่สุด เว้นไว้ไม่ต้องฉีก ฉบับที่สองเป็นการเมือง ภาคการเมืองพูดถึงรัฐสภา คณะ
รัฐมนตรี ศาล ฉบับที่สามอาจพูดถึงการเมืองภาคประชาชนพูดถึงสิทธิเสรีภาพ การปกครองท้องถิ่น
แก้ไขยากง่ายต่างกัน คุยไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มาถึงวันนี้อาจไม่ต้องทำเป็นสามฉบับกระมัง ทำฉบับเดียว
ก็ได้แต่แบ่งเสียหน่อยว่า ภาคหนึ่งแก้ยากที่สุด ภาคสองแก้ยากเบาลง ภาคสามแก้ง่ายหน่อย
ทำอย่างนี้ได้ก็จะเป็นที่พอใจไม่ให้เกิดปัญหายุ่งยากวุ่นวาย ขอฝากไว้ให้คิดด้วย
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ เรากำลังพูดถึงเรื่อง 8 ทศวรรษการเมืองไทย 80 ปีบวกลบ พูดถึง
พลวัต คือความอ่อนตัว พูดถึงเรื่องดุลอำนาจ ซึ่งหมายความถึงการจัดระเบียบความสัมพันธ์
ระหว่างอำนาจหนึ่งกับอีกอำนาจหนึ่ง ซึ่งจัดให้ได้ จัดให้เป็น จัดให้ถูก ผมมานึกอะไรขึ้นได้เมื่อคืน
ผมไปดูโขนมา โขนเรื่องรามเกียรติ์ นำเอาชุดศึกอินทรชิต ตอน นาคบาศ มาเล่นที่ศูนย์วัฒนธรรม
ซึ่งเป็นโขนสนุกที่น่าจะดู ท่านไม่ต้องตกใจ ผมไม่วิกลจริตอยู่ดีๆ พูดเรื่องพลวัตแล้วมาพูดเรื่องโขน
เรื่องศึกอินทรชิต ตอนนาคบาศ จับเอาตอนที่ว่า ทศกัณฐ์ ส่งหลานชายชื่อวิรุญมุขออกไปสู้กับ
พระรามและพระลักษณ์ วิรุญมุข ซึ่งเป็นยักษ์ เป็นหลานทศกัณฐ์ ก็นำพวกยักษ์ไปรบ พระราม
ท่านไม่รบ พระรามไม่ค่อยรบกับใคร ส่วนใหญ่จะส่งน้องไปรบทั้งนั้น พระลักษณ์ก็ไปรบกับ
วิรุญมุข มีการหายตัวได้เวลาออกไปรบวิรุญมุขก็หายตัวได้ แล้วเข้าไปทำร้ายพวกลิง
ซึ่งเป็นเสนาของพระลักษณ์พระราม พวกลิงมองไม่เห็นศัตรู ผมก็มานั่งดูนึกในใจเหมือนการสู้
ระหว่างอำนาจกับอำนาจ พระลักษณ์มีอำนาจแต่มองไม่เห็นอำนาจอีกฝ่าย อำนาจอีกฝ่ายก็เลย
ตกหลุมพรางเพราะไม่รู้จะสู้กับใคร มองอะไรไปก็ไม่เห็น จัดดุลแห่งอำนาจก็จัดไม่ถูก จัดระเบียบ
แห่งอำนาจก็ไม่ได้ ในที่สุดพระลักษณ์ก็แผลงศรบันดาลให้เกิดตาข่ายเพชร ยักษ์อยู่ที่ไหนตาข่าย
เพชรก็จะไปจับตัวยักษ์ไว้หมด ล้อมตัวยักษ์ ปรากฏเข้าไปสู้ได้นี่เป็นการจับดุลแห่งอำนาจเพราะ
มันทำให้มองเห็นอำนาจขึ้นมา ยักษ์คืออำนาจ ลงท้ายจับได้หมด พระลักษณ์ก็ลงโทษพอเป็นพิธี
เพราะวิรุญมุข เป็นยักษ์เด็ก ปล่อยตัว หนีไปฟ้องอา คืออินทรชิตซึ่งยิ่งใหญ่มาก แปลงตัวเป็น
พระอินทร์ก็ได้ ฟ้องว่า ถูกแผลงศรเป็นตาข่ายไปล้อมไว้ อินทรชิตจึงเหาะไปบนท้องฟ้าแล้ว
แผลงศรนาคบาศ เป็นศรศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นพญานาคตัวเล็กตัวน้อยไปพันตัวลิงทั้งหมด รวมทั้ง
พันพระลักษณ์ด้วย นี่ก็เป็นการสู้ด้วยอำนาจกับอำนาจอีก พญานาคที่ไปจับตัวลิง ลิงทั้งหมดเป็นลม
สิ้นสติ ในที่สุดพระรามออกมาช่วยแผลงศร กลายเป็นพญาครุฑมายุดนาคไว้ทั้งหมด ลิงจึงฟื้น
โขนจบแค่นี้ แล้วอย่างไร ผมกำลังจะอุปมากลับเข้ามาว่า อำนาจจะเป็นลิงเป็นยักษ์ บางทีเรามอง
ไม่เห็น เราต้องแผลงศรหาอะไรสักอันไปรัด เราจึงอย่าตกหลุมพรางแห่งอำนาจ แต่เราต้องสร้าง
หลุมพรางไปล้อมอำนาจเอาไว้นี่คือปัญหาดุลแห่งสภาฯ ดุลของรัฐบาล ท้องถิ่น เรื่องกระจายอำนาจ
เรื่องการปฏิรูป ดุลเรื่องการเมืองภาครัฐ ดุลเรื่องอำนาจพลเมือง กรรมาธิการ 36 คน คือ คนที่มี
อำนาจแผลงศร นำโดย อาจารย์บวรศักดิ์ มีหน้าที่แผลงศร ท่านจะแผลงไปเป็นตาข่ายเพชร
หรือจะแผลงไปเป็นพญานาค เป็นครุฑก็ตาม จะต้องจับตัวอำนาจนั้นมาขึ้นดุลให้ได้ แล้วก็เขียน