Page 61 - kpi17073
P. 61
60 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ถ้าลงไปถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับท้องถิ่นซึ่งจำเป็นต้องจัดความสัมพันธ์ของดุล
ให้ได้ดุล รัฐธรรมนูญบางฉบับไม่สนใจเรื่องท้องถิ่น การกระจายอำนาจ แล้วถ้าให้ถูก ต้องจัดดุล
ต่อระหว่างการเมืองภาครัฐกับการเมืองภาคพลเมือง ซึ่งสมัยก่อนไม่รู้จัก เพิ่งรู้จักตั้งแต่
พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเพราะเหตุที่ว่าเราจัดดุลรัฐสภากับรัฐบาลให้
มันดีไม่ได้ ในที่สุดรัฐบาลใหญ่กว่าสภา แล้วออกแบบสร้างองค์กรตรวจสอบขึ้นมาปีตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2540 เรื่อยมาเพื่อทดแทน ผมได้ตั้งหลักว่าประชาชนเลือก ส.ส. ส.ส. เลือกรัฐบาลและ ส.ส.
คุมรัฐบาล แต่ความจริง ส.ส. คุมรัฐบาลไม่ได้ รัฐบาลอิทธิฤทธิ์เยอะ มีแต้มต่อ มีกำลังภายใน
รัฐธรรมนูญบางฉบับเพิ่มอำนาจรัฐบาล รัฐบาลสมัยนายกฯทักษิณ สมาชิกสภาฯรวมเท่าไรก็เปิด
อภิปรายนายกรัฐมนตรีไม่ได้ โดยผลคะแนนเสียงที่นั่งในสภา บทเรียนอย่างนี้ จึงนำไปสู่การสร้าง
ดุลใหม่ ฝากผีฝากไข้สภาฯไม่ได้ จึงสร้างองค์กรตรวจสอบสารพัด มีหน้าที่ตรวจสอบแทนสภาฯ
แทนประชาชน ประชาชนเข้าคูหากาบัตรแล้วไม่รู้วันไหนจะออกมาเป็นใหญ่ได้อีก รอยุบสภา
ในที่สุดเกิดองค์กรมาแทน กกต. ป.ป.ช. สารพัดองค์กร เสริมได้ระยะหนึ่ง จัดดุลระเบียบความ
สัมพันธ์กัน นี่คือสภาการเมือง ใครที่มาฟังคุณสุรินทร์ พิศสุวรรณพูดเมื่อวาน อาจจะได้ยินประโยค
สำคัญถูกใจตรงกับที่คิดมา การจัดดุลอำนาจต้องมองไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งอำนาจ
ให้ครบทุกองค์กร คือ 1. เราต้องระบุอำนาจให้ครบแล้วจัดความสัมพันธ์อำนาจหนึ่งกับอีกอำนาจ
หนึ่งให้ถ้วนทั่ว อย่าเลือกจัดระบบความสัมพันธ์ดุลอำนาจเพียงบางอำนาจ ซึ่งผมมองว่าที่ผ่านมา
เราเลือกจัดเพียงบางอำนาจตามโอกาสของปัญหา ความจริงนักการเมืองหรือว่านักกฎหมาย
นักการเมืองไทยเก่งที่จะมองปัญหาล่วงหน้าได้ แต่ถึงเวลาเข้าโดยกระแสหลายอย่าง ปัญหาที่ระบุ
ได้นั้น โยนหินถามทางไม่เป็นที่ยอมรับ ปัญหามันยังไม่เกิด อาจจะไม่เกิดอย่าไปยุ่งเขียน เราพูด
ถึงเรื่องมีศาลปกครองมานาน มีผู้เสนอให้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ สุดท้ายไม่ต้องเขียนไปออก
กฎหมายธรรมดา เราพูดถึงผู้ตรวจการแผ่นดินมานาน อย่าไปเขียนเลยปัญหายังไม่รุนแรงก็ไม่เขียน
จนกระทั่งรุนแรงก็เขียน พอเขียนมันไม่ใช่ระบุเพื่อเตือนแต่ระบุเพื่อรับปัญหามาหลายสิบปีแล้ว
ในที่สุดมันก็ทำลายความเชื่อมั่นขององค์กรที่เพิ่งคิดขึ้นใหม่ ถ้าคิดแต่แรก ระบุแต่แรกตั้งแต่ก่อน
เกิดปัญหาก็น่าจะดี ผมมองว่าการร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้จะมองอำนาจทั้งที่มีในประเทศ
ให้ครบและจัดดุลอำนาจให้หมด ไม่ว่าจะเป็นระหว่างรัฐบาลกับสภาฯ หรือภายในองค์กรรัฐบาลเอง
ภายในองค์กรสภาฯเอง ดุลแห่งอำนาจระหว่างรัฐกับท้องถิ่น ดุลอำนาจระหว่างการเมืองภาครัฐและ
การเมืองภาคพลเมือง ระหว่างฝ่ายประจำและฝ่ายการเมือง จัดให้หมด เพราะฉะนั้น นอกจาก
ข้อที่ 1 ต้องระบุอำนาจแล้ว ต้องระบุปัญหาอย่าไปเลือกปัญหา กำหนดให้ครอบคลุม ระวังอย่าให้
อำนาจเป็นกับดัก เห็นปัญหาและรู้ว่ามันมีอำนาจนี้อยู่แต่มันเป็นกับดักที่เราไปชุลมุน เราควรสร้าง
กับดักไปจับปัญหานั้นไว้ให้ได้ คือก็ป้องกันไว้
ประการสุดท้ายคือ การจัดการอำนาจหลายอำนาจและดุลอำนาจ 4-5 ดุลแล้ว ก็ไม่ต้อง
เขียนรายละเอียดพิสดารมากนัก แตะเอาไว้ให้เห็น ปล่อยให้พลวัตซึ่งแปลว่า การขับเคลื่อนไปได้
การปรับเปลี่ยนไปได้ เมื่อวานสื่อมาถามรัฐธรรมนูญที่ดีควรเป็นอย่างไร ผมตอบว่า อย่ายาวแต่
ครอบคลุม หลายเรื่องไปออกเป็นกฎหมายลูกได้ ตีความได้ เขียนไม่ยาวแล้วปัญหาคือ กำกวม
หละหลวม ถกเถียง ดังนั้น ต้องมีกับดักไปล้อมตัวปัญหาเหล่านั้นเอาไว้ ผมจึงได้เสนอแนะกับสื่อ
เมื่อวานนี้ว่า ประการแรกต้องเขียนรัฐธรรมนูญอย่าให้ยืดยาว เขียนให้กระชับ แต่ประการที่สอง