Page 60 - kpi17073
P. 60
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 59
อำนาจรัฐ ส่วนของพระมหากษัตริย์เองยังเคยชินกับพระราชอำนาจเก่า ขณะเดียวกันก็ไม่ทรงไว้
วางพระราชหฤทัยว่า สิ่งที่เคยเป็นพระราชอำนาจนั้นเมื่อมีการยึดเอาไปใช้แล้วจะมีการใช้อย่างถูก
ต้องหรือไม่ ยังทรงตระหนักและยังทรงรำลึกว่าเป็นความรับผิดชอบของพระองค์ที่ต้องตามไปดูต่อ
เพื่อให้อำนาจของพระองค์ที่หลั่งไหลออกจากพระองค์ลงสู่ประชาชนนั้นถึงมือประชาชนจริง
การจัดดุลเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาตั้งแต่ปี 2475 2476 2477 ปลายรัชกาลที่ 7 ขณะนั้นมีการ
แต่งตั้งวุฒิสภา ยังไม่ได้เลือกตั้ง รัชกาลที่ 7 ยังมีดำริเลือกตั้งเสียเลยก็แล้วไป แต่ถ้าแต่งตั้งควร
ถวายชื่อมา เกินจำนวนเลือกได้บ้างไม่ใช่ถวายเท่าจำนวน ถวายเท่าใดทรงตั้งเท่านั้น รัฐบาล
ต้องกราบบังคมทูลทัดทานว่าเรื่องนี้เป็นอำนาจรัฐบาลไม่ใช่พระราชอำนาจอีกต่อไป เรื่องอย่างนี้
กลายเป็นความขัดแย้ง การถวายชื่อสมาชิกสภาฯ รัชกาลที่ 7 มีดำริว่าควรถวายล่วงหน้าไม่ใช่
ถวายเช้าคืนเย็น คือให้ทรงพิจารณาบ้าง เพราะต้องทรงลงพระปรมาภิไธย แต่รัฐบาลไม่ยอม
ซึ่งก็เป็นชนวนแห่งความขัดแย้งประกอบกัน นำสู่เหตุการณ์สละราชสมบัติในเวลาต่อมานั้น
เป็นดุลที่วางไว้ มองจากวันนี้ว่าหลังจากนั้นเราไปจับจุดดุลอำนาจอีกแบบหนึ่งไปเคลื่อนจากเรื่องเดิม
สมัยรัชกาลที่ 8 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐบาลลดลงเพราะรัชกาลที่ 8
ทรงประทับอยู่ต่างประเทศ ในประเทศมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้สำเร็จก็ไม่มีโอกาสขัดแย้ง
กับรัฐบาลเท่าไร เราก้าวเข้าสู่ระบบรัฐสภาเรื่อยมา แต่ดุลแห่งอำนาจที่ได้จัดตั้งแต่ปี 2477 เรื่อยมา
วันนี้มองย้อนไปว่าเราจัดไม่ถูก ที่จริงไม่ยุติธรรมนักเพราะว่า ถ้าเราเกิดตอน 7-8 ทศวรรษที่แล้ว
เราอาจจะทำไม่ได้ วันนี้เรามองย้อนอดีตมันเห็นผิดถูกได้สนุกปากดีที่จะวิจารณ์เขาว่าจัดดุลอำนาจ
ที่พลาดเพราะว่า ประการที่หนึ่งเราควรจัดดุลอำนาจหลายๆ ดุลเพราะว่าอำนาจมีหลายอำนาจ
แต่เลือกจัดบางดุลอำนาจ ไม่ครอบคลุมทุกดุลอำนาจ เราจะเห็นว่าบางยุคให้น้ำหนักดุลอำนาจ
ระหว่างสภากับรัฐบาล แต่อย่างอื่นแตะน้อยมาก อาจจะเป็นเพราะว่าวิกฤตในวันนั้นเป็นเรื่องนี้
ท่านจึงเห็นรัฐธรรมนูญบางฉบับ การเมืองบางช่วงชุลมุนกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับ
สภาฯ พยายามทำให้ดีที่สุด เขียนให้ดีที่สุด แต่สุดท้าย ก็ดีไปไม่ได้เพราะมีตัวซ่อนเร้นแอบแฝง
ระบบที่ควรจะเป็นก็คือระบบที่ประชาชนออกมาเลือก ส.ส. แล้ว ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรี
แต่ดุลอำนาจบางสมัย รัฐบาลซึ่งมาจากสภาฯแท้ๆ กลายเป็นอำนาจเหนือสภาที่เป็นระบบรัฐสภา
ที่แปลก ในบางสมัยรัฐบาลมีอำนาจตั้ง ส.ว. ตั้งขึ้นมาเพื่อคุมรัฐบาล คนตั้ง คนคุม คนถูกคุม
ชุลมุนอย่างนี้ แล้วจะให้ระบบรัฐสภาเดินไปราบรื่นได้อย่างไร รัฐบาลซึ่งมาจากสภาฯควรอยู่ใต้การ
กำกับควบคุมของสภาฯ แต่ปรากฏในบางสมัยหลายสมัยที่รัฐบาลเป็นใหญ่เหนือสภาฯ ครอบงำ
สภาฯ เช่น การเขียนกติกาว่า ส.ส.ต้องสังกัดพรรค พรรคใดได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงมาก
พรรคนั้นเป็นรัฐบาล เมื่อกำหนดให้ ส.ส.ต้องเป็นพรรค พรรคคุม ส.ส.ได้ ถ้าพรรคมีมติ ส.ส.ต้องทำ
ตามมติ ไม่ทำตามปลด ส.ส.ออกได้ มันก็วนกลับสู่องค์ประกอบภายในสภาฯ กลับมาคำถามว่า
ใครเป็นใหญ่เหนือใครคุมใครกันแน่ ระบบรัฐสภาออกแบบให้ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
หลายสมัยสภาฯก็ทำได้แค่ตั้งกระทู้ถาม หลายเรื่องสำเร็จเด็ดขาดตกลงกันตั้งแต่ที่ประชุมพรรค
หนักเข้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ไม่น้อยที่ไม่นำพาต่อการประชุมสภาฯ ไม่ไปสภาฯ
ไม่ตอบกระทู้ถามสภาฯ และไม่สนใจทำงานร่วมมือกับสภาฯ บางยุครัฐธรรมนูญออกแบบต่ออีกว่า
ส.ส.เป็นรัฐมนตรีไม่ได้ทำให้ดุลแห่งอำนาจตรงนี้แปลกไปอีก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นตลอดระยะ
เวลา 8 ทศวรรษที่ผ่านมา เพียงแต่มันไม่ซ้ำอย่างนี้ตลอด