Page 59 - kpi17073
P. 59

58     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  รัฐบาลมีหน้าที่ต้องแถลงนโยบายต่อสภาฯก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน สภาฯเองมีปัญหาต้อง
                  ถามได้ รัฐมนตรีมีหน้าที่มาตอบ หากสภาฯไม่พอใจการทำงานของรัฐบาล สภาฯเปิดอภิปราย

                  ซักฟอกได้ลงคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจได้ ในระดับท้องถิ่นจะสังเกตได้ว่า เราวางดุลไว้อีกแบบหนึ่ง
                  ในกรุงเทพมหานครท่านผู้ว่าฯสุขุมพันธ์ ท่านไม่ได้มาตามแบบช่องทางที่ผมได้เรียนมา
                  ในกรุงเทพมหานคร เราออกจากบ้านเข้าคูหากาบัตรเลือก สก. ท่านไปรวมเป็นสภานิติบัญญัติ

                  กทม. แล้วเราออกจากบ้านไปเลือกผู้ว่าฯ กทม.เป็นรัฐบาลเหมือนเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะ
                  ฉะนั้นผู้ว่าฯ กทม. จึงไม่ได้มาจากความเห็นชอบของสภา กทม. ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ท่านนายกฯ

                  อภิสิทธิ์ ท่านนายกฯทักษิณ นายกฯชวน นายกฯบรรหาร นายกฯชวลิต ท่านมาจากคะแนนเสียง
                  ที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบให้ไปดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล แต่คุณชายสุขุมพันธ์ไม่ได้มาจาก
                  คะแนนเสียงสภา กทม.โหวตให้ไปเป็นหัวหน้ารัฐบาล กทม. แต่ชาว กทม. เลือกท่านเองโดยตรง

                  จะกี่ล้านเสียงก็ว่าไป เพราะฉะนั้น หัวหน้ารัฐบาล กทม. จึงไม่ได้มาจากสภาฯ เมื่อสภาฯไม่ได้ตั้ง
                  สภาฯก็ไม่มีอำนาจถอด สภาฯไม่มีอำนาจควบคุม ต่างคนต่างอยู่เป็นสิงห์สองตัว อยู่คนละถ้ำ

                  นั่นก็เป็นดุลแห่งอำนาจอีกแบบหนึ่ง ภาพอย่างนี้เห็นในการปกครองท้องถิ่นทั่วไปในประเทศ
                  ส่วนที่จะตั้งคำถามว่าทำไมเป็นอย่างนั้น เลียนแบบประเทศกับท้องถิ่นให้เหมือนกันเป็นอีกเรื่อง
                  หนึ่งต้องพูดกันเยอะ เราลองกันมาเยอะแล้ว 8 ทศวรรษที่ผ่านมา เราพยายามจัดดุลอำนาจอย่าง

                  ถึงที่สุด จริงๆ รัฐธรรมนูญ 19 ฉบับ ก็พยายามจัดดุลแห่งอำนาจตามประสาที่คิดว่าดีที่สุดจริงๆ
                  แต่เมื่อมองจากวันนี้ย้อนหลังไปก็อาจจะมองได้ง่ายหน่อยว่าดุลที่จัดอาจจะผิด ไม่เหมาะสม เมื่อ

                  เปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆนั้น เราไปวางดุลแห่งอำนาจ คือ ระบบความสัมพันธ์ระหว่าง
                  อำนาจหนึ่งกับอำนาจหนึ่งโดยเอนไปที่สภาผู้แทนราษฎร คำที่ควรจะเรียกสภาพการเมืองหลังการ
                  เปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง คือคำที่ใช้ในอังกฤษว่า Supremacy of Parliament แปลว่า

                  รัฐสภาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน สภาผู้แทนราษฎรของไทยชุดแรกเลยเป็นใหญ่ในแผ่นดินทั้งที่เป็นสภา
                  แต่งตั้ง เป็นใหญ่อย่างไร เพราะว่าเราไม่ไว้วางใจองค์กรอื่นใดเราจึงประเคนอำนาจทั้งหมดที่ยึดได้

                  จากพระมหากษัตริย์ไปให้สภาผู้แทนราษฎร สภาฯก็มีอำนาจตั้งรัฐบาลไม่ใช่ตั้งนายกรัฐมนตรี
                  อย่างที่เราเห็นในเวลาต่อมา แต่ตั้ง ครม.ทั้งทีม 15 คนเลย เลือกเจ้าคุณมโน (พระยามโนปกรณ์
                  นิติธาดา) เป็นกรรมการผู้แทนราษฎร ซึ่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรีแต่จากนั้นก็เลือกคนที่สองสาม

                  สี่ถึงคนที่สิบห้า พูดง่ายๆ คือต้องเลือกรัฐมนตรีทั้ง 15 คนเลย แล้วยังกำหนดได้อีกด้วยว่าเมื่อมี
                  ปัญหาใด ครม. กรรมการสภาฯ ต้องย้อนมาถามสภาฯ กลับมาขอความเห็นและปรึกษา แม้หาก

                  จำเป็นต้องพิจารณาความผิดของกษัตริย์ เวลานั้นก็ยกให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้วินิจฉัยความผิด
                  ของกษัตริย์ คือดุลที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นเมื่อเราเปลี่ยนจาก พรบ.ธรรมนูญการ
                  ปกครองฉบับชั่วคราวแบบนี้ มาเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เราก็เริ่ม

                  มองอำนาจเป็นอีกแบบแล้วจัดดุลใหม่ทลายระบอบสภาเป็นใหญ่เพราะรู้แล้วว่า ดินอิฐหินมีส่วนด้วย
                  คือยังมีองค์กรอื่นมามีส่วนร่วมด้วยในการแบ่งอำนาจเพื่อ balancing power ปัญหาอีกปัญหาหนึ่ง

                  คือระบบความสัมพันธ์ของระบบพระมหากษัตริย์กับรัฐบาล ซึ่งเป็นครั้งเดียวที่ได้มีการมองปัญหา
                  สำคัญปัญหานี้ หลังจากนั้นอาจจะเลือนไป ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาวิกฤต เป็นช่วงที่เพิ่งมีการ
                  เปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองจากราชาธิปไตยเหนือกฎหมายมาเป็นสิ่งที่เรียกว่าราชาธิปไตย

                  ใต้กฎหมาย ใหม่ๆ ยังไม่เรียกว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เราเรียกว่า
                  ราชาธิปไตยใต้กฎหมาย ความไม่วางใจยังมีอยู่ว่า อะไรที่ควรเป็นพระราชอำนาจ อะไรควรเป็น
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64