Page 58 - kpi17073
P. 58

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   57


                      เรื่องอย่างนี้ การเลิกทาส รัฐบาลกลางออกกฎหมายมาฉบับหนึ่ง เลิกทาสเลิกได้ไหม ทุกวันนี้เถียงกัน
                      อยู่โทษประหารชีวิตนั้น ควรเป็นเรื่องกฎหมายกลางของรัฐบาลกลางหรือมลรัฐ หรืออีกประเภท

                      หนึ่งที่เป็นรัฐรวม ที่เถียงกันหนักคือการจัดดุลระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร ตุลาการ
                      อะไรเป็นอำนาจรัฐบาล อะไรเป็นอำนาจของรัฐสภา ประธานาธิบดีส่งทหารไปรบต่างประเทศเป็น
                      สิ่งที่ทำได้เองหรือจะต้องขอความเห็นชอบจากสภาคองเกรส กฎหมายหรือการกระทำใดๆ ของ

                      รัฐบาลสั่งแล้วมีผลสัมฤทธิ์หรือว่าจะต้องมีองค์กรใดที่มาตรวจสอบคำสั่ง เป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่
                      ในประเทศที่เป็นรัฐรวมแล้ว เขาเน้นการจัดระเบียบดุลแห่งอำนาจ ทำอย่างที่ว่า มาอีกประเทศ

                      อีกปม ชุลมุนอีกแบบตามสภาพปัญหาของเขา เช่นจะจัดดุลอำนาจระหว่างชนกลุ่มใหญ่และ
                      ชนกลุ่มน้อยอย่างไร ปัญหานี้เกิดที่แอฟริกาใต้ มาตั้งแต่สมัยเนลสัน แมนเดลลา ประเทศที่
                      ปกครองโดยใช้รูปแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขแล้วมีอำนาจเด็ดขาดเป็นหัวหน้ารัฐบาล ดุลแห่ง

                      อำนาจของเขาคือปัญหาที่ว่า ประธานาธิบดีควรจะมีอำนาจมากน้อยเพียงใด และในระบบ
                      ความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีซึ่งสวมหมวกสองใบ ใบหนึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล เวลาประชุม

                      คณะรัฐมนตรี อีกใบหนึ่งเป็นประมุข เราไปต่างประเทศต้องยิงสลุต 21 นัด เหมือนต้อนรับ
                      พระเจ้าแผ่นดิน จะจัดดุลแห่งอำนาจระหว่างสถานะนี้ตำแหน่งนี้ กับสถานภาพนั้นตำแหน่งนั้น
                      อย่างไร หรือในประเทศที่มีรัฐสภา ซึ่งออกแบบให้ประชาชนออกจากบ้านมาเข้าคูหากาบัตรเลือก

                      ส.ส. ไม่ใช่เลือกนายกรัฐมนตรี แล้ว ส.ส.มาชุมนุมกัน หาตัวคนเป็นนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
                      หารัฐมนตรี รัฐมนตรีมาจากนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีมาจากรัฐสภา รัฐสภามาจากประชาชน

                      แต่ประเทศที่เขามีรูปแบบรัฐบาลแบบนี้เวลาจัดดุลแห่งอำนาจ เขาต้องจัดอีกแบบหนึ่ง เขามาจัดอีก
                      แบบหนึ่ง ต่อมาคือจะจัดให้ประชาชนที่ออกจากบ้านมาเลือก ส.ส.นั้น เลือกเสร็จจะจัดดุลระหว่าง
                      ประชาชนกับ ส.ส.อย่างไรได้ ไม่ใช่สี่ปีมาพบกันทีหนึ่ง เมื่อ ส.ส.เองโหวตเลือกใครมาเป็น

                      นายกรัฐมนตรี จัดดุลอำนาจสภากับนายกรัฐมนตรีอย่างไร เพราะฉะนั้นประเทศที่ใช้รูปแบบ
                      นายกรัฐมนตรี รัฐบาลแบบนี้ดุลอำนาจเขาจึงเป็นสภาตั้งรัฐบาล รัฐสภามีอำนาจเรียกให้รัฐบาล

                      มาแถลงนโยบาย รัฐสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยการตั้งกระทู้ถามหรือ
                      เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ระบบมันจะเบี่ยงเบนออกไปจากนี้มากนักไม่ได้ เพราะมันต้องวางดุลกัน
                      ไว้อย่างนี้ ถ้าเราตั้งต้นว่าเราจะใช้ระบบรัฐสภา เราวางดุลอีกแบบหนึ่ง เลือกนายกรัฐมนตรี

                      โดยตรง มันจะเป็นดุลที่ประหลาด แล้วก็ไม่เคยทำกัน ชักจะมีเสียงอยากทดลองในประเทศไทย
                      บ้างก็ตาม หรือเมื่อเราใช้รัฐสภา แล้วสภาให้ความเห็นชอบโดยการตั้งคนเป็นนายกรัฐมนตรี

                      ดุลต้องตามมาในแง่ที่ว่าสภาต้องควบคุมรัฐบาลได้ ตามหลักที่ว่าผู้ใดมีอำนาจสถาปนาผู้นั้น
                      มีอำนาจถอดถอน ผู้มีอำนาจถอดถอนผู้นั้นมีอำนาจควบคุม ครั้นเราจะบอกว่า ไม่เป็นไรให้สภา
                      เลือกนายกฯ แต่สภาควบคุมไม่ได้ ตั้งกระทู้ถามไม่ได้ เอาออกยากมาก ดุลมันก็เสียไป ในแต่ละ

                      ประเทศนั้นมันจะจัดดุลได้หลายแบบ แล้วแต่สภาพปัญหาซึ่งไม่เหมือนกัน ไม่ต้องดูอื่นไกล
                      ประเทศไทยเราในขณะที่การเมืองระดับชาติ ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราใช้ระบบที่เรียกว่าระบบ

                      รัฐสภาที่ประชาชนเลือก ส.ส. และ ส.ส.เลือกนายกฯ ประชาชนไม่ได้ออกจากบ้านมากาบัตรเลือก
                      นายกรัฐมนตรีโดยตรง นายกรัฐมนตรีอาจจะพูดได้ว่าตนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่นั่น
                      มันแปลว่าโดยอ้อม เราไม่เคยออกไปกาบัตรเลือกนายกรัฐมนตรี ใครได้คะแนนมากคนนั้นเป็น

                      นายกรัฐมนตรี ไม่เคย เราเลือกผู้แทนฯ เวลา กกต. (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ประกาศผล
                      ก็ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. แล้วผู้แทนฯ ต่างหากที่ท่านไปชุมนุมกันเลือกนายกรัฐมนตรี
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63