Page 69 - kpi17073
P. 69
68 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ที่เกินกว่าระบบรัฐสภาอีกแล้ว เลือกแล้ว ไม่เลือกอีกแล้ว ผมคิดว่าเราคงเห็นร่วมกันว่าไม่มีเวลา
ทบทวนเรื่องนี้อีก เราตัดสินใจแล้ว คือ ระบบรัฐสภา ความเห็นจะต่างกันบ้างตรงที่ว่า คำว่า
รัฐสภากินความหมายไปถึงการเลือกนายกฯด้วยหรือไม่ ความเห็นผมกับอาจารย์สมบัติอาจจะ
ต่างกันชัดเจน ตรงนี้คือผมถือว่าระบบรัฐสภา คือการเลือกผู้แทนราษฎรเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และ
เสียงข้างมากเป็นฝ่ายตั้งรัฐบาล โดยธรรมเนียมประเพณีแม้ในยุคที่ไม่มีกฎหมายเขาก็เลือก
หัวหน้าพรรค ตอนหลังก็บังคับว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากผู้แทนราษฎร และบังคับสังกัดพรรค
ประสบการณ์เช่นเดียวกัน ในอดีตเมื่อผมเป็นผู้แทนราษฎรครั้งแรก ปี 2512 นั้น รัฐธรรมนูญ
ไม่ได้เขียนให้อำนาจ ส.ส. เลย ฝ่ายค้านเป็นกรรมาธิการยังไม่ได้เลย ไม่มีกำหนดสัดส่วน
อย่างปัจจุบันนี้ผมเข้าไปเป็นกรรมาธิการไม่ได้แล้ว ในสมัยนั้นห้าม ส.ส. เป็นรัฐมนตรี ชัดเจนว่า
เขาไม่ใช่แยกอำนาจ ไม่ใช่ถ่วงดุลอำนาจ แต่เป็นการกันอำนาจ
ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
82 ปี ที่ผ่านมา ถ้าเดินมาด้วยดี เราก็ไม่ต้องพูดถึงการปฏิรูป แต่วันนี้หลายคนจะรู้ซึ้งว่า
ปัญหามันรุนแรง จึงต้องมาร่วมกันเพื่อทำงานปฏิรูป ในทัศนะของผมต่อการปฏิรูป คือการที่มี
ปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่ยาก ไม่สามารถแก้ไขได้ในทันที จะต้องค่อยๆ คิด เพื่อหาวิธีทางแก้ไข
ปัญหาที่ดีที่สุด ในฐานะที่ผมเป็นผู้สอนวิชาการเมือง เราสามารถจำแนกประชาธิปไตยได้สองแบบ
นั่นคือ 1. ระบบรัฐสภา 2. ระบบประธานาธิบดี ซึ่งเราจะต้องเข้าใจก่อนว่า ระบบประธานาธิบดี
มีเงื่อนไข โดยระบบประธานาธิบดีนั้น ประชาชนจะเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีซึ่งถือว่าเป็นประมุขด้วย
คนไทยบางคนก็มาพูดอยากให้มีการเลือกนายกฯ โดยตรงบ้าง มันก็สามารถทำได้ แต่ผมว่า
ระบบนี้อาจจะไม่ถูกเท่าที่ควรและไม่ใช่แนวความคิดของผม
ต่อไปเราจะมาดูประเทศต้นแบบของประชาธิปไตยกันบ้าง ซึ่งประเทศต้นแบบต่างๆ เช่น
อังกฤษ ฝรั่งเศส ก็ไม่ค่อยมีปัญหาในหลักการ ดูอย่างในสกอตแลนด์ที่เคยจะมีการแยกตัวออก
จากอังกฤษนั้น แต่เมื่อผลการลงคะแนนแล้วไม่แยก มันก็คือไม่ ทุกคนก็จบลงกันด้วยดี แต่พอมา
เจอสังคมไทย รูปแบบแนวทางแบบประชาธิปไตยมาเจอสังคมไทยกลับมามีปัญหา ซึ่งปัญหา
มันไม่ใช่เพราะตัวเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญ และก็ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากประชาชน เพราะ
ชาวบ้านธรรมดาๆ แล้ว เขาก็หาเช้ากินค่ำ มีการซื้อสิทธิขายเสียงมันก็เรื่องปกติในชีวิตของเขา
ซึ่งปัญหาจริงๆนั้น เกิดที่ตัวนักการเมือง คนส่วนน้อยที่มีสิทธิจะขึ้นเป็นคนชั้นนำของสังคมไทย
ทำไมคุณเข้าไปซื้อละ มันเป็นสิ่งไม่ดี และพอเข้ามาในทางการเมือง จึงต้องกอบโกย ต้องคอรัปชั่น
เพราะลงทุนไปกับการเลือกตั้งไปมากแล้ว ดังนั้น เราจะเห็นผู้แทนราษฎรขายตัวกันเป็นตัวจำนวนมาก
ปัญหาจึงเกิดจากนักการเมืองประเภทนี้มันมีปัญหา แล้วจะต้องปฏิรูปที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องเสียอะไร
ผมขอพูดถึงจุดอ่อนของระบบรัฐสภาสักเล็กน้อยว่า ระบบรัฐสภาให้ประชาชนเลือก ส.ส. แล้ว
ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะทำอย่างไรให้ได้เป็นนายกฯ เป็นพรรครัฐบาล ก็จะต้องมี ส.ส.
ที่สนับสนุนตนได้เกินครึ่ง ดังนั้น หนึ่ง เรื่องเงินก็มีส่วนเกี่ยวข้องและพัวพัน โดยต้องการซื้อเสียง