Page 70 - kpi17073
P. 70

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   69


                      เพื่อได้รับเสียงข้างมาก และ ส.ส. ก็เอาเงินประชาชนอีกต่อหนึ่ง เพื่อให้ตนเองเข้ามาอยู่ในเวที
                      ทางการเมือง สอง การเลือกตั้งบ้านเรา รัฐบาลมาจากพรรคผสมเยอะ จนทำให้ไม่มีเสถียรภาพ

                      ทางการเมืองเสียเยอะ ส่วนใหญ่ก็อยู่ไม่ครบวาระ ดังนั้น ในรัฐธรรมนูญปี 40 จึงถูกออกแบบมา
                      เพื่อสร้างพรรคใหญ่สองพรรคให้แข่งขันกัน เพื่อทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ แต่มันก็อาจจะนำไปสู่
                      เผด็จการทางรัฐสภาได้ อาทิ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ที่มีพรรคเดียวที่มีอำนาจ และถ้าได้ ส.ส.

                      ที่ดีประเทศก็จะพัฒนาไปไกลมาก แต่ต้องยอมรับว่ามันสามารถเกิดขึ้นในไทยได้เช่นกัน
                      สาม ปัญหาเรื่องการถ่วงดุลอำนาจ ถ้ารัฐบาลกุมเสียงข้างมากในทางการเมืองก็จะทำให้การ

                      ตรวจสอบอำนาจไม่มีผลอะไร และถ้าการตรวจสอบขององค์กรอิสระถูกผูกไว้กับรัฐบาล มันก็ไม่
                      สามารถมีประสิทธิภาพได้เลย สี่ เมื่อใดก็ตามที่กลไกภาคประชาชนอ่อนแอ จะทำให้สังคมอ่อนแอ
                      วนอยู่ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย เพราะถูกควบคุมไว้หมด



                      ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์


                            ในวันนี้ผมก็จะมานำเสนอใน 2 หมวก โดยจะนำเสนอทั้งฐานะของนักวิชาการและในฐานะ
                      สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยการเมืองไทยนั้นดูผิวเผินแล้ว จะเห็นว่ามันไม่ค่อยมีอะไร

                      เปลี่ยนแปลงไปเลย แต่การเมืองไทยนั้น ไม่สามารถดูแบบผิวเผินได้ ที่ไม่สามารถดูแบบผิวเผิน
                      ได้นั้น เพราะเราจะพบอะไรที่แตกต่างกันเยอะ โดยคนไทยเป็นคนสามัคคีกันมาก แต่ในอีก
                      มุมหนึ่งก็ขัดแย้งกันตลอดเวลา แต่ก็สามารถรวมกันได้ ตั้งแต่เรามีรัฐธรรมนูญในครั้งแรก และในตัว

                      รัฐธรรมนูญก็เช่นกัน คนไทยใช้รัฐธรรมนูญเยอะมาก เฉลี่ยแล้วก็ 4 ปีเปลี่ยนครั้งก็ว่าได้
                      โดยรัฐธรรมนูญมีสิ่งดีๆ อยู่เยอะแต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่ารัฐธรรมนูญจะคงทนถาวรอยู่ได้

                      ตลอด โดยในครั้งนี้ที่จะต้องร่างรัฐธรรมนูญกันขึ้นใหม่นั้น ผมก็ยินดีที่จะร่างให้มันออกมาให้ดี
                      ที่สุด และก็ได้เห็นว่าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติส่วนใหญ่ ก็มีความมุ่งมั่นที่จะร่างรัฐธรรมนูญให้ดี
                      ที่สุดเท่าที่จะดีได้ การปฏิรูปครั้งนี้จะดีที่สุด โดยผมอยู่ในอารมณ์ที่ไม่รอความล้มเหลว และไม่อยู่

                      ในอารมณ์ที่จะวิเคราะห์อะไรทั้งสิ้น เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ของผม แต่หน้าที่ของผมคือต้องทำให้ได้
                      และทำให้ดีที่สุด ทำให้ทันตามเวลา


                            เราขัดแย้งกันมากที่สุดในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี 2475 เลยก็ว่าได้ จนประเทศเรา

                      มีมาเกือบ 20 ฉบับ ซึ่งจะเห็นว่า สังคมไทยเราสามารถอยู่ได้ท่ามกลางความขัดแย้ง เป็นสังคม
                      ที่ประหลาดมากแต่ก็ยังสามารถอยู่ร่วมกัน ประนีประนอมกันได้ แม้แต่การรัฐประหาร
                      ครั้งที่ผ่านไม่กี่เดือนมานี้ ก็สามารถทำได้อย่างสงบเรียบร้อย ใครถูกเรียกตัวก็ไปกัน แม้แต่คนที่

                      นั่งอยู่ในเวทีนี้ด้วย ซึ่งผมก็คิดว่าเราจะไม่สามารถมองข้ามกันไปได้ โดยสังคมไทยผิวเผินเป็น
                      สังคมที่ดูจะหักล้างแตกแยกกัน แต่มันก็ไม่สามารถจะแตกแยกกันจนถึงที่สุดได้ จะบอกว่าคนไทย

                      มีธรรมชาติอย่างไรนั้นสามารถบอกได้ยากมาก โดยในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา มันก็มีรูปแบบ
                      หลักๆ ในสาระอยู่สองอย่าง คือ แบบประชาธิปไตยและแบบรัฏฐาธิปัตย์ โดย 2 ระบบนี้ ยังไม่
                      สามารถหาความชอบธรรมเชิงระบบได้ เพราะสังคมไทยประเมินการเมืองโดยผลงาน ไม่ได้

                      ประเมินการเมืองโดยระบบ ซึ่งใครที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตข้างหน้า ก็ต้องเตรียมตัว
                      ให้พร้อม เพราะคนไทยสามารถย้อนกลับไปเป็นรูปแบบรัฏฐาธิปัตย์ได้ ส่วนพวกที่ได้อำนาจ
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75