Page 222 - kpi17073
P. 222
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 221
ซึ่งเมื่อให้คำนิยามทางปฏิบัติการแก่กรอบอำนาจหน้าที่ที่นำเสนอมาจึงได้ว่าการรวบรวม
ข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อที่จะเป็นข้อมูลสนับสนุนการค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพจึงได้แก่ ข้อมูล
การลงมติในเรื่องพิจารณาต่างๆ การตั้งกระทู้ การเสนอญัตติ และ การเสนอกฎหมายด้วยตนเอง
และการเข้าชื่อเป็นหมู่คณะ
เพราะการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจและการค้นหาแบบแผน/แบบจำลองใน
การเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็น “ผู้แทนฯ” ของ ส.ส. ไทย กรอบการวิเคราะห์ที่ใช้จึงเป็นกรอบที่
สร้างจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการทำหน้าที่เพื่อชี้ให้เห็นว่าผลการทำงานนั้นเป็น
ปัจจัย/ตัวแปรที่ส่งผลต่อความไร้ประสิทธิภาพ อันที่จะนำไปสู่การค้นหาตัวแบบที่อาจได้มาจากการ
สำรวจวรรณกรรมและผลรายงานการปฏิรูปของประเทศต่างๆ เพื่อนำมากำหนดเป็นตัวต้นแบบ
โดยการดำเนินการศึกษานั้นจะใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ
ผสมเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อประสานและตรวจทานข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล
เชิงประจักษ์ที่รวบรวมและข้อมูลที่ได้จากการทำการสำรวจ รวมไปถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกและ
การประชุมกลุ่มย่อย ก่อนที่จะนำมารวบรวมเพื่อเป็นข้อเสนอเพื่อการ “ปฏิรูป” และการ
“เพิ่มประสิทธิภาพ”
ไร้ประสิทธิภาพจริงหรือ ข้อพิสูจน์เชิงประจักษ์
ข้อมูลเชิงประจักษ์จะทำให้การฉายภาพของความด้อยประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ของ
ผู้แทนราษฎรได้แจ่มชัดขึ้น เพราะความคาดหวังในขณะการออกแบบกรอบโครงสร้างรัฐสภาและ
หน้าที่ของสมาชิกรัฐสภานั้นมักจะสวนทางกับความเป็นจริงที่ได้จากการมีรัฐสภาและสมาชิก
ปฏิบัติหน้าที่อย่างหลักเลี่ยงไม่ได้
จากข้อกำหนดกรอบการศึกษาการทำงานของผู้แทนราษฎรที่ได้กำหนดกรอบการวิเคราะห์
การทำงานตาม กรอบของ “อำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร – เฉพาะในสภา” ดังนั้น
ข้อมูลที่จะนำเสนอในบทนี้จึงเน้นการนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลการลงมติในเรื่องพิจารณาต่างๆ
การตั้งกระทู้ และการเสนอกฎหมายด้วยตนเองและการเข้าชื่อเป็นหมู่คณะทั้งนี้ การนำเสนอ
ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลสนับสนุนที่จะนำไปสู่แนวทางการสร้างแบบจำลองในการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการทำงานของผู้แทนฯ ต่อไป
เสนอร่างกฎหมายน้อย: ข้อบกพร่องที่ 1
ส ส กับการ กก า
การทำงานด้านนิติบัญญัติเป็นหัวใจของการทำงานของสมาชิกผู้แทนราษฎร โดยหน้าที่ใน
การออกกฎหมายถือเป็นสิ่งบ่งชี้ของความเป็น “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” เพราะประเทศ
ไม่สามารถมีห้องประชุมที่นำคนทั้งประเทศมาถกเถียงถึงความต้องการด้านนโยบายและทิศทาง การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2