Page 218 - kpi17073
P. 218

เพิ่มดุลอำนาจระหว่าง ‘นักการเมือง’

                            และ ‘พรรคการเมือง’:
                            เพิ่มประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ “ผู้แทนราษฎร”                       1



                            ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว*










                            บทนำ



                                  ตัวเลขการออกไปใช้สิทธิการเลือกตั้งทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่

                            2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมามีสถิติเพียงร้อยละ 47.72 นับเป็นสถิติที่ต่ำที่สุด
                            นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งหลังการมีประชาธิปไตยแบบครึ่งใบในประเทศไทย
                            (ดูแผนภูมิที่ 1) และเป็นสถิติที่ดิ่งตัวลงมาหลังจากการเพิ่มขึ้นใน 10 ปีที่ผ่านมา

                            ถือได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างของตัวบ่งชี้แห่งปัญหาวิกฤติ
                            การเมืองไทยที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นมา เพราะการปฏิเสธการใช้สิทธิการมีส่วนร่วมใน

                            ทางการเมืองในระบอบของประชาธิปไตยด้วยการเลือกตั้งได้บ่งบอกถึงอาการ
                            “เบื่อการเมือง” (Political Apathy) ที่เกิดขึ้นกับพลเมืองส่วนหนึ่งของประเทศ
                            ไทย ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นหนึ่งในสามของอาการเบื่อการเมืองนั่นคือ หนึ่ง การ

                            กลัวว่าจะเกิดสิ่งหรือเหตุการณ์อันไม่พึงปรารถนาจากการเข้าไปมีส่วนร่วม
                            ทางการเมือง สอง การไม่เห็นค่าของการไปมีส่วนร่วม และ สาม การไม่อยากมี

                            ส่วนร่วมไปเสียเฉยๆ ซึ่งการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่มีสถิติต่ำนี้จัดได้ว่าเป็น
                            อาการการเบื่อการเมืองแบบที่สอง (อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, 2556)




                              *  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                               1   บทความนี้ปรับทอนจาก รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง “เพิ่มดุลอำนาจระหว่าง
                            ‘นักการเมือง’ และ ‘พรรคการเมือง’: เพิ่มประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ “ผู้แทนราษฎร”” (ใน
                            โครงการสู่ศตวรรษที่เก้า ก้าวใหม่ของประชาธิปไตยไทย) ผู้เขียนขอขอบคุณวิทยาลัยการเมือง
                            การปกครอง สถาบันพระปกเกล้า สำหรับทุนสนับสนุนงานวิจัยนี้
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223