Page 220 - kpi17073
P. 220

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   219


                      การเมืองและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองไทยไม่ได้อยู่ในภาพที่ดีในสายตาของคนไทยเลย
                      ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ ข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศของ

                      สถาบันพระปกเกล้า (สถาบันพระปกเกล้า 2553) ในประเด็นความเชื่อมั่นที่มีต่อสถาบันและ
                      บุคคลทางการเมือง อันได้แก่ (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐบาล/คณะรัฐมนตรี (3) สถาบัน
                                                                                          2
                      พรรคการเมือง (4) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ (5) สมาชิกวุฒิสภา  ตั้งแต่พ.ศ. 2546 ถึง
                      พ.ศ. 2553ดังแสดงให้เห็นในแผนภูมิที่ 2 จะเห็นว่าค่า ความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีให้แก่สถาบัน
                      และบุคคลทางการเมืองของประเทศนั้นมีแนวโน้มที่ลดลงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 แม้ค่าตัวเลขความ

                      เชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นหลัง พ.ศ. 2550 แต่ก็ไม่ได้เพิ่มสูงจนถึงระดับที่เคยเป็นมาก่อน ที่สำคัญ เมื่อดู
                      ให้เฉพาะเจาะจงก็จะเห็นว่าพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นมีค่าความเชื่อมั่นที่ต่ำ
                      กว่ากลุ่มอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน อันเป็นเหตุให้มองได้ว่าองค์ประกอบที่สำคัญของระบบ

                      การเมืองได้แก่ พรรคการเมืองที่เป็นแหล่งผลิตนักการเมืองและรวบรวมความต้องการทางด้าน
                      นโยบายของประชาชนเพื่อเข้าไปสู่ระบบการคัดเลือกนโยบายในระบบการเมืองนั้นไม่ได้รับความ

                      เชื่อมั่นจากประชาชนผู้ที่ซึ่งเทียบได้กับดัชนีชี้วัดความจำเป็นในการมีและการดำรงอยู่ของสถาบัน
                      และตัวแสดงทางการเมืองในระบบการเมืองไทย เพราะความเชื่อมั่นที่ต่ำคือเสียงสะท้อนของความ
                      ไม่พอใจในผลงานและการทำหน้าที่ในระบบการเมือง การเรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงย่อม

                      ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น


                            ทั้งสถิติการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งและค่าสถิติความคิดเห็นของประชาชนที่ได้นำมาแสดงให้
                      เห็นนี้จึงนำมาสู่ข้อสรุปส่วนหนึ่งที่ไม่น่าแปลกใจว่า ข้อถกเถียงถึงที่มาและสาเหตุของความขัดแย้ง
                      และวิกฤตในการเมืองไทยส่วนหนึ่งจะมุ่งความสนใจไปยัง “รัฐสภา”


                            ข้อถกเถียงถึงปัญหา หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ข้อกล่าวหา” ที่รัฐสภาโดยเฉพาะ

                      “สภาผู้แทนราษฎร” ได้รับ ที่ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดว่า สภาผู้แทนฯ นั้นเปรียบได้กับ “สภาฝักถั่ว”
                      หรือ ยิ่งไปกว่านั้นในสมัยการเมืองหลัง พ.ศ. 2550 ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกมองว่าเป็น
                      “ลูกจ้างพรรคการเมือง” มากกว่าจะเป็น “ผู้แทนชาวบ้าน” และการทำหน้าที่ของ ส.ส. ที่เป็นไป

                      “เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ”
                      จึงเป็นข้อกล่าวหาที่ “ฉกรรจ์” พอสมควร


                            ข้อกล่าวหาข้างต้นอาจไม่มีน้ำหนักมากเท่าไรหากไร้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นถึง
                      ข้อยืนยันต่อข้อกล่าวหาเหล่านั้น ดังเช่นว่า สถิติการทำงานในสภาฯ ของ ส.ส. ที่ ส.ส. ผู้ซึ่งควร

                      จะเป็นตัวแทนใน “ด้านนโยบาย” ของประชาชนในสภาฯ แต่ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเมื่อ
                      พิจารณาแบบแผนและพฤติกรรมการลงมติในร่างกฎหมายและเรื่องพิจารณาต่างๆ ที่มีในสภาฯ

                      เพราะจะเห็นว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นไม่เป็นพฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงที่แสดงให้เห็นถึงการมี
                      จุดยืนทางนโยบายของ ส.ส. รายบุคคล และยังรวมไปถึง จุดยืนด้านนโยบายของพรรคการเมือง
                      ที่มีอยู่ในสภาฯ ที่สำคัญไม่ได้สะท้อนความต้องการทางนโยบายของประชาชนหรือ การทำหน้าที่

                      การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยวิธีการ เช่น การตั้งกระทู้ หรือ การตั้งญัตติ ที่ ส.ส.
                      ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญที่จะใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของ            การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2


                          2   ข้อมูลในปี พ.ศ. 2547 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ไม่ได้ถูกรายงานไว้
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225