Page 221 - kpi17073
P. 221
220 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ประชาชน(แม้ปัญหาหลักจะเกิดจากปัญหาทางเทคนิคในการประชุมสภา หรือ การจัดการ
ระเบียบวาระการประชุมในสภา แต่หากเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาไม่สามารถ
แก้ไข หรือ ไม่ได้ถูกนำไปใช้ เครื่องมือสมควรที่จะถูกพิจารณาถึงความเหมาะสมในการดำรงอยู่
หรือ ต้องมีการแก้ไขปรับปรุง) ยิ่งไปกว่านั้นการเสนอกฎหมายอันจะนำไปสู่การนำเสนอความ
ต้องการทางนโยบาย หรือ การปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งถือเป็นหน้าที่ทางนิติบัญญัติ
อันสำคัญ ส.ส. ส่วนหนึ่งก็ไม่ได้ทำหน้าที่นี้ให้ได้ในระดับที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด
ดังนั้น การค้นพบข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับข้อสังเกตในย่อหน้าที่ผ่านมาก็จะเป็น
เหตุส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึง “ความด้อยประสิทธิภาพ” ในการทำหน้าที่ “ผู้แทนราษฎร” ของ ส.ส.
ในสภาฯ ในหลายยุคหลายสมัยของการเมืองไทยที่ผ่านมา
ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองของไทยที่เกิดขึ้นในช่วง
ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธการเลือกตั้งของคนในสังคมส่วนหนึ่ง การไม่ให้ความสำคัญกับ
นักการเมืองที่มีอยู่ การมองข้ามการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการ
ของประชาชนก็เป็นสิ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นในการมองหาวิธีการปฏิรูป “สภาผู้แทนราษฎร”
เช่นนั้นแล้ว ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษาและการค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงาน
ของ ส.ส. ในสภาฯ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเมื่อได้แสดงข้อมูลเชิงประจักษ์ให้เห็นแล้วว่าความ
ด้อยประสิทธิภาพนั้นเกิดที่จุดใด แล้วนำไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของต่างประเทศที่เคย
ประสบปัญหาในทำนองเดียวกันหรือใกล้เคียง เพื่อนำเสนอเป็นแบบแผน/แบบจำลอง ในการ
ปฏิรูปเพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็น “ผู้แทนฯ” ของ ส.ส. ไทย
กรอบการศึกษาและการดำเนินการศึกษา
การศึกษาเพื่อค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานของ ส.ส.นั้น จะอยู่ในกรอบการ
ศึกษาที่นิยาม “การทำงาน” ของ ส.ส. ตามกรอบของ “อำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
– เฉพาะในสภา” ดังที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ที่กำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ของ ส.ส. ไว้ดังนี้ คือ
๏ อำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมาย อันได้แก่ การตราพระราชบัญญัติ การพิจารณา
พระราชกำหนด การแก้ไข/พิจารณา เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
๏ อำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน อันได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การ
เสนอญัตติ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 ๏ อำนาจหน้าที่ในการควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
๏ อำนาจหน้าที่ในการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
๏ อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ