Page 213 - kpi17073
P. 213

212     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  Group) ก็ตาม กลุ่มต่างๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการเมือง
                  ได้อันถือเป็นการกระจายอำนาจหรือคานกันเองในสังคม


                       5. สำหรับประเทศที่เป็นสหพันธรัฐส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดใช้ระบบสองสภาเนื่องมาจาก
                  โครงสร้างการปกครองของสหพันธรัฐประกอบด้วยการปกครอง 2 ระดับ คือ ระดับรัฐบาลกลาง

                  และระดับมลรัฐ การมีสภาที่สองทำให้มีสภาเป็นผู้แทนประโยชน์ได้เสียของมลรัฐต่างๆ ในแต่ละ
                  มลรัฐมีพลเมืองไม่เท่ากัน ดังนั้น ในสภาที่หนึ่งอาจมีสมาชิกที่มีเสียงข้างมากและคํานึงถึง

                  ผลประโยชน์ของมลรัฐบางมลรัฐโดยเฉพาะซึ่งอาจทำให้มลรัฐอื่นๆ เสียเปรียบในสภาที่หนึ่งได้
                  แต่ถ้ามีสภาที่สองประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นผู้แทนของมลรัฐคอยถ่วงดุลเสียงของสภาที่หนึ่ง
                  การมีระบบสองสภาทำให้มลรัฐมีโอกาสมีผู้แทนทําหน้าที่ประโยชน์ได้เสียของมลรัฐนั้นๆ การมี

                  สภาที่สองทำให้มลรัฐที่มีพลเมืองมากกว่าไม่มีทางเอาเปรียบมลรัฐที่มีพลเมืองน้อยกว่าสําหรับ
                  สหรัฐระบบสองสภาเป็นเครื่องมือที่ทำให้คํานึงถึงประโยชน์ของสหรัฐกับมลรัฐพร้อมกันไป

                  ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกากําหนดให้ทุกมลรัฐมีผู้แทนจำนวนเท่ากัน หรือ
                  อย่างน้อยก็ระวังมิให้มลรัฐใดมลรัฐหนึ่งมีเสียงข้างมากในสภาสูงมากไปเพื่อจะได้เป็นเครื่องดุลการ
                  ที่มลรัฐใดมลรัฐหนึ่งมีผู้แทนเป็นจำนวนมากในสภาที่หนึ่ง


                       6. การมีวุฒิสภา หรือสภาสูง หรือสภาที่สอง เพื่อให้ท้องถิ่นต่างๆ มีตัวแทนเป็นของตนเอง

                  หรือการให้วุฒิสภาเป็นตัวแทนโดยตรงของท้องถิ่นต่างๆ โดยเหตุผลเนื่องจากประเทศมีอาณาเขต
                  กว้างใหญ่เป็นสาเหตุสําคัญประการหนึ่งที่ทำให้บางประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศสมี 2 สภา คือ
                  ต้องการให้วุฒิสภาทําหน้าที่เป็นตัวแทนของสภาท้องถิ่นอย่างแท้จริง


                         สำหรับแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมูลเหตุแห่งการมีสมาชิกวุฒิสภาในประเทศไทยนั้น

                  มีหลักการไม่แตกต่างกันมากนักดังได้กล่าวมาแล้วในส่วนต้น แต่โดยเหตุที่วุฒิสภามีรูปแบบการ
                  ได้มาที่ยังไม่แน่นอนและยังคงมีประเด็นถกเถียงกันอยู่ ดังเหตุผลของแต่ละฝ่ายดังที่กล่าวไปแล้ว


                         ประกอบกับเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2540 ที่นับ
                  ได้ว่าเป็นต้นแบบของการมีวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ก็มิได้มีความเป็นเอกภาพในการ

                  กำหนดให้วุฒิสภามีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เนื่องจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญบางส่วน
                  ก็เห็นควรกำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาซึ่งคล้ายกันกับสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก

                  การสรรหาตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2550 และต่อมาเมื่อมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี
                  พ.ศ.2550 ก็ยังมีความคิดเห็นที่ยังไม่ตรงกันในประเด็นที่มาของวุฒิสภาอยู่อีก โดยสมาชิกสภา
                  ร่างรัฐธรรมนูญบางส่วนมีการเสนอให้มีเพียงสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวและบางส่วนก็เสนอ

                  ให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาทั้งหมดโดยผ่านกลไกต่างๆ นอกจากนี้ เมื่อครั้งล่าสุด รัฐสภายังมีความ
                  พยายามแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีการอภิปราย

                  ในประเด็นที่มาของวุฒิสภาและมีการเสนอให้ปรับปรุงรูปแบบที่มาของวุฒิสภาอย่างหลากหลาย
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218