Page 208 - kpi17073
P. 208
รูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์*
ความนำ
ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข ในระบบรัฐสภาตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.
2475 โดยแต่เดิมนั้น เป็นการจัดตั้งรูปแบบรัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว คือ มีแต่
สภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่หลักคือออกกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการ
แผ่นดิน แต่ในขณะนั้น การปกครองในลักษณะดังกล่าวนี้ถือเป็น “ของใหม่”
และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ก็ยังขาดความรู้ความชำนาญในการ
ปกครอง จึงมีการกำหนดให้ใช้รูปแบบรัฐสภาเป็นแบบสองสภา คือ มีสภาผู้แทน
ราษฎรและวุฒิสภา โดยให้วุฒิสภาทำหน้าที่เป็น “สภาพี่เลี้ยง” และกำหนดให้
สมาชิกวุฒิสภาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ ซึ่งอาจเป็น
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือไม่เป็นข้าราชการแต่เป็นผู้มีคุณวุฒิ หรือมีความ
สามารถในด้านต่างๆ
ด้วยเหตุนี้ สมาชิกวุฒิสภาในช่วงแรกจึงมีที่มาจากการแต่งตั้ง เช่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กำหนดให้วุฒิสภา
ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้
ความชำนาญในวิชาการหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่การปก
ครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1
และกำหนดให้มีความเป็นกลางไม่มีผลประโยชน์อื่นใดอันจะอาศัยตำแหน่งหน้าที่
มาเกี่ยวข้อง เช่น กำหนดห้ามสมาชิกวุฒิสภารับสัมปทานจากรัฐ หรือหน่วยงาน
ราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือถ้าหากมีสัมปทานอยู่ก่อน
ดำรงตำแหน่ง เมื่อรับตำแหน่งแล้ว ก็จะคงถือสัมปทานนั้นต่อไปไม่ได้ ห้าม
สมาชิกวุฒิสภาเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ
* รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 100