Page 204 - kpi17073
P. 204
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 203
นางสาวปัทมา สูบกำปัง
สำหรับที่มาของคณะกรรมการการเลือกตั้งควรจะเปิดกว้างให้มีคณะกรรมการสรรหาที่มี
หลายภาคส่วนเข้ามาสรรหา แล้วก็เสนอรายชื่อเข้าสู่รัฐสภา แล้วเราจะไม่เจอปัญหาการเมือง
เข้าไปแทรกแซง กกต. อีกหรือ และบอกว่า กกต. เป็นเหยื่อ อยากเรียนว่า หลักการของเราคือ
อยากให้มันเปิดกว้างให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ ทุกภาคส่วนควรจะได้มีส่วนร่วมในการใช้
อำนาจในการคัดสรร กกต. และต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะกระบวนการที่อยากให้ใส่เพิ่ม
เข้าไปก็คือ ให้มันเปิดเผยโปร่งใสต่อสาธารณะทั้งกระบวนการที่จะเลือกคนมา และกระบวนการ
ที่จะให้คะแนนว่าใครจะได้รับเลือกให้เป็น กกต. ควรจะทำ Checklist ให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ตรงนี้ก็น่าจะแตกต่างจากกระบวนการเดิม ที่กล่าวมานี้เป็นข้อเสนอ เพราะถ้าเราไปดูของ
บางประเทศ กกต. มาจากทั้งสามส่วนนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการเข้ามานั่งเป็น กกต. หรือ
บางประเทศหัวหน้าฝ่ายบริหารแต่งตั้งจากบุคคลที่รัฐสภาเสนอเข้ามา ซึ่งรูปแบบพวกนี้จะเป็นแนว
สุดโต่ง หากนำมาใช้ในบ้านเราจะมีปัญหาในเชิงพฤติกรรมของบุคคล หลักการจึงต้องการความ
ยุติธรรมโปร่งใส และทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจและรับผิดชอบต่ออำนาจที่ทำด้วย
ส่วนที่สอง การตัดอำนาจใบเหลืองใบแดงก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง ในความเป็นจริง กกต.
ก็ไม่มีอำนาจนี้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ 2550 ได้เขียนไว้ ข้อเสนอนี้จึงอยู่
บนหลักเกณฑ์ตรงนั้น จึงเสนอว่าในความจริงถ้าไม่มีอยู่แล้วความเหมาะสมเราจะตัดอำนาจที่มีอยู่
ของ กกต. ทั้งก่อนและหลังการประกาศผลให้ศาลดีหรือไม่ ศาลมีเงื่อนไขในข้อเสนอบอกว่า
ต้องมีกฎหมายว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณาความคดีเลือกตั้งขึ้นสำหรับศาลไม่ว่าจะเป็นศาลฎีกา
หรือศาลอุทธรณ์ แต่ในความเห็นของท่านบอกว่าควรจะมีสองศาลหรือไม่ ก็ต้องดูที่ระยะเวลาด้วย
เช่นกัน เพราะว่าการประกาศผลการเลือกตั้งมันจะเชื่อมโยงกับการที่เราจะมีผู้แทนไปทำหน้าที่
ในสภา เราจะมีรัฐบาล ดังนั้นเรื่องเงื่อนเวลาจึงสำคัญมากเรื่องที่จะให้เป็นสองศาล การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1