Page 209 - kpi17073
P. 209

208     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตลอดจน
                  ห้ามรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ จากหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็น

                  พิเศษ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติกับบุคคลอื่นๆ
                                     2
                  ในธุรกิจการงานปกติ

                       ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า วุฒิสภาเป็นสภาอันทรงเกียรติที่มีแต่ผู้มีความรู้ความสามารถซึ่งได้รับ
                  การคัดเลือกให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศกับสภาผู้แทนราษฎรที่ช่วยเป็นทั้ง “สภา

                  พี่เลี้ยง” และมีอำนาจกลั่นกรองกฎหมาย ที่ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร ควบคุมการ
                  บริหารราชการแผ่นดินโดยตั้งกระทู้ถามรัฐบาล และสามารถเปิดอภิปรายทั่วไปเมื่อรัฐบาลขอรับ
                  ฟังความคิดเห็นโดยไม่ลงมติ แต่ในภายหลังวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งกลับมีปัญหาเกิดขึ้น

                  ทางการเมืองที่ถือระบบ “ตอบแทน”


                       เมื่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยได้พัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว และ
                  เพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยให้มากยิ่งขึ้น จึงเกิดแนวความคิดที่จะให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มา
                  ที่มีจุดยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

                  ไทย พุทธศักราช 2540  จึงกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งจำนวนสองร้อยคน และ
                                        3
                  ยังกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้วุฒิสภาไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง เช่น ข้อกำหนด

                  ห้ามผู้สมัครรับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาสังกัดพรรคการเมือง  ห้ามลงพื้นที่หาเสียง ตลอดจน
                                                                              4
                  ห้ามสมาชิกวุฒิสภาเป็นรัฐมนตรี และห้ามดำรงตำแหน่งสองสมัยติดกัน เป็นต้น


                       นอกจากนี้ เมื่อมีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาที่มีจุดยึดโยงกับประชาชนโดยตรง
                  เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงมีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจมากยิ่งขึ้น

                  อาจกล่าวได้ว่า วุฒิสภาไม่ได้เป็นเพียง “สภาพี่เลี้ยง” อีกต่อไป หากแต่มีอำนาจต่างๆ เพิ่มขึ้น
                  ได้แก่ อำนาจในการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งในองค์กรตรวจสอบต่างๆ เช่นคณะกรรมการการ
                  เลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

                  ตุลาการศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อำนาจในการ
                  แต่งตั้งและถอนถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง อำนาจในการเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เป็นต้น

                  ทำให้สมาชิกวุฒิสภามีบทบาทที่ปรากฏและเห็นได้ชัดเจนต่อสาธารณะมากขึ้นตามไปด้วย


                       อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะกำหนดข้อห้าม
                  ไว้หลายประการเพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง มีความเป็นกลางและ
                  ไม่มีเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์กับทางราชการ เช่น ห้ามสมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรง

                  ตำแหน่งอื่นในพรรคการเมือง ผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
                  ราษฎรมาแล้วยังไม่เกิน 1 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา

                  เป็นต้น ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเหล่านี้ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2      2 3 4   เพิ่งอ้าง มาตรา 102




                        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 121

                        ถ้าเคยเป็นต้องพ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214