Page 212 - kpi17073
P. 212

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   211


                            ดังนั้น ก่อนที่จะออกแบบให้องค์กรวุฒิสภาของไทย มีรูปแบบเป็นอย่างไร จะต้องทราบ
                      แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมูลเหตุแห่งการมีสมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วยว่ามีความแนวความคิด

                      และความเป็นมาอย่างไรประกอบด้วยซึ่งแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมูลเหตุแห่งการมีสมาชิก
                      วุฒิสภา โดยสรุปดังนี้


                            1. การมีวุฒิสภา หรือสภาสูง หรือสภาที่สอง เพื่อตรวจสอบการใช้เสียงข้างมากของสภา
                      ผู้แทนราษฎรหรือสภาที่หนึ่ง อันเกิดจากการไม่ไว้วางใจเสียงข้างมากนั่นเอง เนื่องจากสภาผู้แทน

                      ราษฎรอาจใช้อำนาจโดยมิชอบได้ ซึ่งตามข้อเท็จจริง ถ้ามีสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวและ
                      สมาชิกส่วนมากเป็นฝ่ายรัฐบาลด้วยแล้ว รัฐบาลอาจครอบงํารัฐสภาได้ทั้งหมดและอาจเกิดการใช้
                      อำนาจเด็ดขาดในรัฐสภาได้โดยง่าย ดังนั้น การมีวุฒิสภา หรือสภาสูง หรือสภาที่สองอีกสภาหนึ่ง

                      จะเป็นการคานอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรและเป็นเครื่องประกันเสรีภาพและคุ้มครองการใช้
                      อำนาจโดยมิชอบได้ อันเป็นเครื่องมือถ่วงดุล (Balance) ของการใช้อำนาจนิติบัญญัติ ทั้งนี้

                      กฎหมายที่มีการตราโดยผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติทั้งสองสภาย่อมเป็นหลักประกันแก่
                      ราษฎรได้มากกว่ากฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแต่เพียงสภาเดียว เพราะ
                      กฎหมายจะได้รับการพิจารณาโดยคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของราษฎร


                            2. การมีวุฒิสภา หรือสภาสูง หรือสภาที่สองเพื่อคานอำนาจหรือยับยั้งกับสภาผู้แทนราษฎร

                      สาเหตุเกิดจากความไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎรว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมี
                      ประสิทธิภาพและเรียบร้อย เช่น ความแตกแยกในสภาผู้แทนราษฎร ความอ่อนประสบการณ์ของ
                      สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือการเห็นแก่ประโยชน์ของสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งมากไป

                      จำเป็นที่จะต้องมีสภาที่สองเป็น “พี่เลี้ยง” คอยถ่วงดุลการใช้อำนาจด้วยการพิจารณายับยั้ง
                      ร่างกฎหมาย


                            3. การมีวุฒิสภา หรือสภาสูง หรือสภาที่สองจำทำหน้าที่ตรวจสอบหรือทักท้วงการออก
                      กฎหมายให้มีความรอบคอบและถูกต้องมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสภาที่สองทําหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง”

                      ประเภทที่ปรึกษาในฐานะผู้ทักท้วงเท่านั้น การออกกฎหมายที่ดีควรผ่านกระบวนการ ซึ่งฝ่าย
                      นิติบัญญัติได้มีการพิจารณาและโต้เถียงด้วยเหตุและผล รวมทั้งการลงมติให้เป็นไปอย่างรอบคอบ

                      มาแล้ว ซึ่งหากมีสภานิติบัญญัติแต่เพียงสภาเดียวจึงทำให้น่าเป็นกังวลอย่างยิ่งว่า การพิจารณา
                      กฎหมายจะไม่ละเอียดถี่ถ้วนและลงมติอาจเป็นไปโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ ดังนั้น หากมี
                      สภาที่สองแล้วความกังวลในเรื่องก็จะไม่เกิดขึ้นอีก เพราะสภาที่สองจะทําหน้าที่ตรวจสอบ

                      (Check) เพื่อไม่ให้การบัญญัติหรือพิจารณากฎหมายรีบร้อนเกินไป อันเป็นการป้องกันไม่ให้สภา
                      นิติบัญญัติออกกฎหมายอย่างไม่มีความระมัดระวังหรือคล้อยตามข้อเรียกร้องต่างๆ หรือทำตาม

                      เหตุผลทางการเมืองมากจนเกินไป


                            4. การมีวุฒิสภา หรือสภาสูง หรือสภาที่สอง เพื่อเป็นเวทีหรือเปิดโอกาสให้บุคคล
                      บางประเภทมีโอกาสทางการเมืองได้ เนื่องจากสภาที่สองส่วนใหญ่จะเป็นเวทีของกลุ่มคนบาง
                      อาชีพหรือบางตำแหน่งมีอำนาจและอิทธิพลในทางเศรษฐกิจและการเมือง บรรดากลุ่ม

                      ผลประโยชน์ (Interest Group) กลุ่มพลัง (Power Group) หรือกลุ่มอิทธิพล (Pressure                     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217