Page 210 - kpi17073
P. 210
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 209
มีความเอนเอียงเข้าข้างพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งหรือหลายพรรคอยู่เสมอ อีกทั้งยังมีการ
กล่าวอ้างว่าสมาชิกวุฒิสภาอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายตามที่จะสามารถกระทำได้ คัดเลือก
บุคคลที่เป็น “พรรคพวก” เข้าสู่ระบบการสรรหาบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญๆ
ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงเปลี่ยนวิธีการได้มาซึ่ง
สมาชิกวุฒิสภา โดยกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาทั้งจากการเลือกตั้ง และการสรรหา
ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาส่วนที่มาจากการสรรหานี้แทบไม่มีจุดยึดโยงกับประชาชนเลย หากแต่
รัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าวยังคงกำหนดให้อำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาทั้งสองประเภทมีเท่ากัน
และยังคงมีอำนาจมากดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 เดิม การกำหนดเช่นนี้ทำให้
เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาส่วนที่มาจากการสรรหาว่าไม่มีจุดยึดโยงกับ
ประชาชนเลยแต่กลับมีอำนาจเท่ากับสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ส่งผลให้เกิดคำถามใน
เรื่องความชอบธรรมของอำนาจหน้าที่สมาชิกวุฒิสภาส่วนที่มาจากการสรรหาเป็นอย่างมาก
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า วุฒิสภามีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีที่มาจากการ
แต่งตั้งไปสู่การเลือกตั้ง และแบบผสมในที่สุด โดยมีอำนาจหน้าที่มากมายที่สมาชิกวุฒิสภาที่มา
จากการเลือกตั้งและสรรหา ได้รับ ประกอบกับมีปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในส่วนของความชอบธรรม
ในการใช้อำนาจของวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา ปัญหาของมาตรฐานการเสนอชื่อตัวแทน
มาตรการลงโทษองค์กรที่เสนอชื่อ ปัญหาการกำหนดหลักเกณฑ์ในการสรรหาของคณะกรรมการ
สรรหา และปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการเสนอชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรให้แก่
คณะกรรมการสรรหา จึงสมควรทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของอำนาจหน้าที่ และ
การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากกระบวนการต่างๆเพื่อนำเสนอรูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิก
วุฒิสภาที่เหมาะสมของประเทศไทยต่อไป
รายงานการวิจัยฉบับนี้ จึงเป็นการศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของการได้มาซึ่งสมาชิก
วุฒิสภาและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษา
กรณีศึกษาเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาในต่างประเทศ
โดยจะศึกษาเฉพาะกรณีศึกษาของประเทศที่ใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีรูปของ
รัฐเป็นรัฐเดี่ยว (Unitary State) ซึ่งเป็นระบอบการปกครองและรูปของรัฐแบบเดียวกับประเทศ
ไทย เท่านั้น เพื่อหาคำตอบในเรื่องเหตุผลและความจำเป็นในการใช้ระบบรัฐสภาแบบสภาคู่
ในประเทศไทย อำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาที่ควรจะเป็น และกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิก
วุฒิสภาเพื่อให้ได้สมาชิกวุฒิสภาที่มีที่มาและอำนาจหน้าที่ที่สอดคล้องกัน ซึ่งเมื่อได้ทำการศึกษา
วิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ประกอบกับการจัดเสวนากลุ่มย่อย (Focus Group)
และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แล้ว ก็ทำให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ดังนี้ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2