Page 203 - kpi17073
P. 203

202     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  คุณสุกรม สีนวล


                       คำถามของผมคือ ทำอย่างไรจะให้อำนาจของประชาชนมีพื้นที่ในระบอบโครงสร้างอำนาจรัฐ
                  ไทยให้มากขึ้น ผมคิดว่านี่เป็นดุลยภาพที่เป็นจริง ผมมองว่าเราพูดถึงระบบสามอำนาจ นิติบัญญัติ

                  บริหาร ตุลาการ แต่ถ้าเราดูประวัติของระบอบอำนาจรัฐไทย ตัวระบอบอำนาจรัฐที่มีอำนาจจริง
                  ก็ก้าวออกมาล้มอำนาจนี้ นี่เป็นภาวะวิสัยที่เป็นจริง 2512 จอมพลถนอมทำรัฐประหารตัวเอง

                  ระบบสามอำนาจนี้ก็อยู่ ปี 2535 ก็เหมือนกัน เหตุการณ์ที่ทหารออกมาช่วยเหลือประชาชน
                  หรือเหตุการณ์มันดีไม่ดีมันเป็นอัตวิสัย จริงๆ ฉันมีอำนาจฉันจะออกมาก็ได้ถ้าฉันอยากได้อำนาจ
                  ผมคิดว่ามันต้องเพิ่มอำนาจของประชาชนเข้าไปในระบบอำนาจรัฐถึงจะมีดุลยภาพ คำถามคือ

                  จะทำอย่างไรให้พื้นที่ของโครงสร้างอำนาจรัฐมีอำนาจของประชาชนอย่างมั่นคงต่อเนื่อง

                  ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย


                       ผมขอตอบคุณสมศักดิ์ ชนชั้นใดเขียนรัฐธรรมนูญผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับชนชั้นนั้น
                  รัฐธรรมนูญอินเดียร่างโดยคนจัณฑาลปรากฏว่าเขายอมรับหมด จะตัดสินอย่างไรก็คนเขียนคือ

                  คนจัณฑาล แต่ของบ้านเราตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมา ชนชั้นใดกันเป็นคนเขียนรัฐธรรมนูญ เพราะ
                  ฉะนั้นมันถึงปฏิเสธไม่รับได้ ตอนนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่ถ้าจะเอาปัญหาพื้นฐานของชาติเข้ามา แต่

                  ผมเสียดายว่าตัวแทนของคนจัณฑาลในเมืองไทยยังไม่ได้เข้าไป ถ้าเข้าไปได้เมื่อใดมันจะดีทันที

                  นายกล้า สมุทวณิช


                       ปัญหาแรกคือปัญหาเกี่ยวกับว่า เมื่อใดที่เป็นอัยการมีอำนาจหรือเมื่อใดที่ประชาชนมีอำนาจ

                  ตรงนี้แก้ได้ด้วยการไปแก้มาตรา 68 ใหม่ ซึ่งผมเห็นว่าตัวบทมาตรานี้อาจจะสามารถอ่านได้สอง
                  อย่างจริงๆ ก็ได้ แต่เพื่อตัดปัญหา ผมว่า ส.ส.ร. อาจต้องคุยกันว่ามาตรานี้ต้องการอะไรกันแน่
                  ซึ่งผมก็ได้เสนอแนวความคิดเห็นของผมไปแล้วในงานวิจัย คือ ผมเห็นว่าควรเป็นอัยการ แต่ยื่นได้

                  เฉพาะบางเรื่องเท่านั้น ส่วนคำถามที่สอง ตรงนี้มันเป็นเรื่องที่ผมไม่ได้พูดแต่พอทราบเรื่องอยู่
                  คือเรื่องที่ท่านถามมานั้นเป็นเรื่องที่อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่ง คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์

                  เคยพูดไว้ แต่ท่านไม่ได้บอกว่าคดีคุณสมัครเป็นคดีที่ตัดสินผิด แต่คดีนั้นเราตัดสินแล้วเราต้องรีบ
                  เขียนคำวินิจฉัยโดยทันที ตอนที่ท่านพูด ผมอยู่ด้วยเพราะตอนนั้นเป็นการสัมมนาและผมเป็น
                  ผู้ดำเนินรายการเอง ท่านบอกว่าในการที่เรารีบเรียบเรียงคำวินิจฉัยทำให้เกิดความผิดพลาด

                  ความผิดพลาดนี้ไม่ได้แปลว่าความผิดพลาดในเนื้อหาคดี คือคดีนี้อย่างไรก็ตามผลการตัดสินก็ต้อง
                  เป็นไปอย่างนั้นอย่างที่ผมได้อธิบายไปตอนต้น แต่ปัญหาคือการนำประเด็นที่ควรเขียนไว้ทีหลังขึ้น

                  มาก่อน ซึ่งตรงนี้นับเป็นความผิดพลาดแต่ว่ามันก็ไม่ส่งผลต่อเนื้อหาคดีคือต่อให้ไปทำใหม่ผล
                  ก็ไม่เปลี่ยน ไปทำใหม่ก็ได้เอาท่อนนี้ไปไว้ท่อนหลัง เอาท่อนหลังไปไว้ท่อนหน้า ผลก็คือคุณสมัคร
                  ก็พ้นจากตำแหน่งอยู่ดี
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208