Page 153 - kpi17034
P. 153
การสร้างสำนึกพลเมือง
แสดงความเห็นว่าเพราะเหตุใดตนจึงคิดว่าปัญหานั้นสำคัญเสียก่อน และ
หากนักเรียนผู้ติดสติกเกอร์สีเขียวเห็นว่าปัญหาดังกล่าวมีความสำคัญ
ก็สามารถเก็บข้อมูลมาเพื่อนำเสนอต่อเพื่อนร่วมชั้นเพื่อชี้ชวนให้เห็นความ
สำคัญได้ ดังนั้น ในขั้นตอนนี้จึงใช้เวลาค่อนข้างมาก ซึ่งคุณครูควรให้ความ
สำคัญและไม่ควรรวบรัดตัดตอนการแสดงความเห็นของนักเรียนเพื่อให้
ปัญหาที่ได้รับการคัดเลือกเกิดจาก “ฉันทมติ” และเป็นปัญหาที่มีความ
สำคัญอย่างแท้จริง
ข้อสังเกต : ขั้นตอนการหาฉันทมติใช้เวลาค่อนข้างมาก คุณครูไม่ควร
เร่งรีบ แต่ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความเห็นอย่างทั่วถึง และ
ไม่ควรชี้นำนักเรียนเพื่อให้กระบวนการจบลงอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญอย่า
ยึดติดกับสติกเกอร์ว่าเป็นคำตอบสุดท้าย ปัญหาที่ถูกติดสติกเกอร์สีแดง
มากที่สุด อาจกลายเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดก็ได้หากนักเรียนสามารถให้
ข้อมูลสนับสนุนให้เพื่อนร่วมชั้นเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้น
คำตอบสุดท้ายจึงมาจากการ “พูดคุยกัน”
สื่อประกอบการอธิบาย :
ในบทนี้คุณครูสามารถใช้สื่อประกอบการสอนได้ดังต่อไปนี้ (โปรดดู
ดัชนีสื่อประกอบ)
1. พาวเวอร์พอยท์ขั้นตอนที่ 2 – เพื่ออธิบายขั้นตอนกระบวนการ
ในการเลือกปัญหาโดย “ฉันทมติ” (สไลด์ที่ 22B, 27-35C)
2. พาวเวอร์พอยท์อธิบายกระบวนการฉันทมติ – เพื่ออธิบายความ
แตกต่างระหว่าง “เอกฉันท์” “ฉันทมติ” และ “เสียงส่วนใหญ่”
(สไลด์ที่ 36-48C)
1