Page 150 - kpi17034
P. 150
การสร้างสำนึกพลเมือง
ข้อสังเกตในขั้นตอนนี้คือ บางแห่งอาจพบกับการถกเถียงหาข้อยุติ
ไม่ได้ ขณะที่บางแห่งนักเรียนอาจไม่ค่อยแสดงความเห็น เมื่อเป็นเช่นนี้
วิธีการหนึ่งที่คุณครูสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ก็คือ การตั้ง
“กติกา” ร่วมกันระหว่างนักเรียนหรือชุมชนตั้งแต่แรก เช่น การสลับกันพูด
สลับการฟัง การแสดงความเห็นบนพื้นฐานของเหตุผลไม่ใช่อารมณ์
ความรู้สึก และเมื่อเกิดการถกเถียงทะเลาะเบาะแว้งกัน ให้คุณครู
ผู้ดำเนินการกลับมาทบทวนที่กติกาอีกครั้ง แต่หากพบว่านักเรียนหรือชุมชน
ไม่แสดงความเห็นเท่าที่ควร คุณครูจะต้องพยายามกระตุ้นและสร้าง
บรรยากาศเชิญชวนและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพูดคุยแลกเปลี่ยน
เป็นต้น
สิ่งสำคัญอีกประการก่อนดำเนินการ “เลือก” ปัญหาก็คือ
การทำความเข้าใจเรื่องนโยบายสาธารณะ (Public Policy) และกระบวนการ
หาฉันทมติ (Consensus) ให้เข้าใจตรงกัน เนื่องจาก การเลือกปัญหาที่
สำคัญที่สุดจำเป็นต้องเลือกปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะและคนจำนวน
มาก โดยเกิดจากกระบวนการพูดคุยแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขว้างเพื่อ
ให้ได้ข้อตกลงที่คนส่วนมากยอมรับได้
ดังนั้น การทำความเข้าใจพื้นฐาน 2 เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะนอกจากจะทำให้ได้ปัญหาที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่ามีความสำคัญ
รุนแรง และควรได้รับการแก้ไขเป็นอันดับแรกๆอย่างแท้จริงแล้ว ยังทำให้
เกิดความพึงพอใจต่อทุกฝ่าย ส่งผลให้เกิดความร่วมมือจากทุกฝ่าย
กระบวนการ “ฉันทมติ” มีความแตกต่างจากคำว่าเอกฉันท์ เพราะ
“เอกฉันท์” หมายถึงการที่ทุกคนมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องหนึ่งๆ โดย
ไม่มีข้อโต้แย้ง ส่วน “ฉันทมติ” ไม่จำเป็นที่ทุกฝ่ายทุกคนจะต้องเห็นตรงกัน
หมดเป็นเสียงส่วนใหญ่แต่ไม่ได้เกิดจากการยกมือโหวตกัน แต่เกิดจาก
การพูดคุยฟังกัน อาจมีความเห็นต่างได้ แต่เป็นการเห็นต่างที่ตั้งอยู่บน
ความเข้าใจ และยอมรับกันได้
1 1