Page 147 - kpi17034
P. 147
การสร้างสำนึกพลเมือง
“เปิดหู” และแสดงท่าทางว่าเรากำลังสนใจฟังเขาอยู่ ซึ่งมีส่วนสำคัญมาก
ที่จะทำให้การพูดคุยและเจรจาต่างๆ เป็นไปโดยราบรื่น และสุดท้ายคือ
“ปิดปาก” คือการสลับกันพูดสลับกันฟัง
ท่าทางที่แสดงออกให้เห็นถึงการฟังอย่างตั้งใจ (Active listening)*
ประกอบด้วย
1. ไม่พูดขณะฟัง สลับกันพูดสลับกันฟังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ควร
พูดแทรกขณะที่ผู้หนึ่งกำลังพูดอยู่
2. สบตาระหว่างพูดและฟังเป็นการให้เกียรติผู้พูดผู้ฟังและแสดงออก
ถึงความสนใจและให้ความสำคัญ
3. การพยักหน้าพร้อมทั้งส่งเสียงตอบรับเป็นระยะไม่ได้แปลว่าเห็น
ด้วยกับสิ่งนั้นแต่เป็นการแสดงให้ผู้พูดทราบว่าเรากำลังฟังเขาอยู่
และการส่งเสียงตอบเป็นระยะ เช่น “อือหึๆ” แสดงให้เห็นว่าผู้ฟัง
กำลังติดตามสิ่งที่ผู้นั้นกำลังพูดอยู่อย่างตั้งใจ
4. กล่าวทวนทั้งเนื้อหาและความรู้สึก (paraphrasing) เช่น เมื่อผู้พูด
กล่าวด้วยความรู้สึกเศร้า ผู้ฟังควรตอบสนองด้วยน้ำเสียง
ที่แสดงออกถึงความเห็นใจไม่ควรหัวเราะขบขัน
5. ถามตอบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นต่อหัวข้อนั้นๆ
อันอาจนำไปสู่การแสวงหาแนวทางร่วมกันต่อไป
การฟังอย่างตั้งใจนอกจากจะมีผลต่อการพูดคุยและเจรจา การระดม
ความเห็นที่ราบรื่นแล้ว ยังส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้มี
คุณภาพ และเป็นสังคมที่ตัดสินใจเรื่องต่างๆ บนฐานของเหตุและผลไม่ใช่
บนพื้นฐานของอารมณ์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งและความไม่เข้าใจ
“การฟัง” จึงเป็นพื้นฐานที่ดีที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยทุกคนพึงมี
และเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากการฟังคนในครอบครัว
* ที่มา : การฟังอย่างตั้งใจ (Active listening). ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
[เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งขั้นพื้นฐานและการมีส่วนร่วม]
1