Page 179 - kpi16607
P. 179

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





                          3)  ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมผ่านการทำประชาพิจารณ์ ประชามติ

                             และการร่วมตัดสินใจก่อนการดำเนินงานที่กระทบกับประชาชนตาม
                             รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2550 มาตรา 287 และพระราชบัญญัติประกอบ
                             รัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552


                          4)  ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง คณะผู้บริหารท้องถิ่น
                             ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็น

                             ชอบของสภาท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2550 มาตรา 284 และ
                             พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

                             พ.ศ. 2545


                   3. ผลลัพธ์ของการกระจายอำนาจในปัจจุบัน


                         จากการวางหลักการกระจายอำนาจทั้ง 4 ด้านที่กล่าวไปตอนต้นทำให้เกิด
                   การเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยอย่างมหาศาลทั้ง “การเอา        1 1

                   อำนาจการแก้ปัญหาไปไว้ใกล้ปัญหา” ที่ทำให้ท้องถิ่นไทยมีอำนาจหน้าที่ในการ
                   จัดบริการสาธารณะหลากหลายขึ้นจนเกิดนวัตกรรมการพัฒนาท้องถิ่นที่เฉพาะตัว
                   และ “สร้างสำนึกความเป็นเจ้าของของประชาชนในการจัดการตนเอง”

                   ที่ประชาชนยอมรับการกระจายอำนาจมากขึ้นและมีความหลากหลายของ
                   พัฒนาการประชาธิปไตยท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมในแต่ละพื้นที่ แสดงให้เห็น

                   ว่าการเปลี่ยนย้ายดุลอำนาจจากรัฐมาสู่ท้องถิ่นและประชาชนทำให้เกิดพัฒนาการ
                   ที่น่าสนใจสรุปออกเป็น 3 ด้านคือ


                   1) การยอมรับต่อการกระจายอำนาจ


                         แม้ว่าการกระจายอำนาจในช่วงแรกยังมีอุปสรรคและปัญหาในการปฏิบัติ

                   งานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในด้านประสิทธิภาพ
                   และการมีประสิทธิผล จากการประเมินโดยธนาคารโลกในเดือนมกราคม-
                   กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและ

                   ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พบว่า




                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184