Page 115 - kpi16607
P. 115
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
3. ความเหลื่อมล้ำกับประชาธิปไตย
ในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยและสังคมมีความเหลื่อมล้ำ
คนส่วนใหญ่ในสังคมจะมีรายได้ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ย (average income) ของ
ประเทศ ซึ่งวัดจากรายได้ต่อหัว (income per capita) ในสังคมเช่นนี้ ประชาชน
มักต้องการให้รัฐจัดเก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูง เพื่อนำรายได้จากภาษีดังกล่าว
มากระจายให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ในรูปของเงินอุดหนุนหรือการให้สวัสดิการของรัฐ
เพราะผู้มีรายได้น้อยเป็นประชาชนผู้ออกเสียง (voter) ส่วนใหญ่
ตามทฤษฎีผู้ออกเสียงมัธยฐาน (median voter theorem) ซึ่งเป็นแบบ
จำลองทางเศรษฐศาสตร์การเมืองอย่างง่ายที่ใช้กันโดยทั่วไป การตัดสินใจ
ทางนโยบายในสังคมประชาธิปไตยจะเป็นไปตามความต้องการของผู้ออกเสียง
มัธยฐาน (median voter) ซึ่งหมายถึง ผู้ที่อยู่ตรงกลางเมื่อเรียงผู้ลงคะแนนเสียง
ตามตัวแปรอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นรายได้ ตามลำดับจากน้อยไปมาก ทั้งนี้
ตำแหน่งตรงกลางหรือมัธยฐานก็คือ ตำแหน่งที่แบ่งผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด
ออกเป็น 2 ส่วนที่เท่ากันพอดี เช่น ในกรณีที่เรียงผู้ลงคะแนนเสียงตามรายได้
10
ผู้ลงคะแนนเสียงมัธยฐานจะหมายถึงคนที่มีรายได้ที่เปอร์เซ็นไตล์ 50
การที่กล่าวว่า การตัดสินใจทางนโยบายในสังคมประชาธิปไตยจะเป็นไป
ตามความต้องการของผู้ออกเสียงมัธยฐาน หมายความว่า ผลการตัดสินใจของ
ผู้ลงคะแนนเสียงมัธยฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอัตราภาษีที่ต้องการให้
รัฐบาลจัดเก็บ หรือระดับการใช้จ่ายด้านสวัสดิการภาครัฐที่เหมาะสม จะเหมือน
ผลของการตัดสินใจโดยรวมของทั้งสังคม หากมีการทำประชามติในเรื่องดังกล่าว
(ดู Mueller, 2003)
เนื่องจากผู้ลงคะแนนเสียงมัธยฐานจะเป็นผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ
ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการ โดยเฉพาะเมื่อประเทศเปลี่ยนเข้าสู่ระบบประชาธิปไตย
โดยสมบูรณ์ในระยะยาว เราจึงควรพิจารณาดูว่า ผู้ลงคะแนนเสียงมัธยฐาน
ในประเทศไทยมีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร? และน่าจะมีความ
ต้องการสวัสดิการอย่างไร?
สถาบันพระปกเกล้า