Page 507 - kpi16531
P. 507

0      นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 89-108 และ 5). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมือง
               พัทยา พ.ศ.2542 มาตรา 62-79 รวมถึงพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ

               ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16-19 อย่างไรก็ตามยังมีองค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นจำนวนมากที่ขาดความพร้อมในการจัดบริการสาธารณะที่ทำให้ไม่สามารถจัดบริการ
               สาธารณะตามอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ได้ นอกจากนี้ความเสี่ยงทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นจากการ
               ไม่อนุญาตให้ท้องถิ่นทำบริการสาธารณะ


                    แต่ในทัศนะของผู้วิจัยเห็นว่า ตราบเท่าที่ยังไม่มีการออกกฎหมายหรือแนวทางพิจารณาที่
               เป็นทางการและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรนำร่องพิจารณาจัด
               ทำบริการสาธารณะที่เข้าข่ายตามอำนาจหน้าที่ในกฎหมายไปเสียก่อน หรือให้ดำเนินงาน

               ผ่านการถ่ายโอนงานหรือว่าจ้างกิจการเพื่อสังคมรูปแบบต่าง ๆ (โปรดดูในขั้นตอนที่สาม)
               มาดำเนินงานแทน



                  2             ขั้นตอนที่สองเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของประเภทบริการ


                                สาธารณะ: การพิจารณาระดับกำไร กลุ่มเป้าหมาย และ
                                ลักษณะการพัฒนา




                    ขั้นตอนที่สองคือการวางเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของประเภทบริการสาธารณะที่เลือกใน

               ขั้นตอนที่หนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วขั้นตอนนี้จะต้องจัดประเภทบริการว่ามีโครงการหรืองานใดบ้างที่
               “กำไรเลี้ยงตนเองได้ กลุ่มเป้าหมายชัด และพัฒนาให้ถูกจุด” เพื่อให้ประเภทบริการสาธารณะที่
               จะจัดสามารถเกิดประโยชน์สาธารณะและผลประโยชน์เพื่อชุมชน




               หลักคิดสำหรับการพิจารณา



                    ขั้นตอนที่สองเราควรมีหลักการพิจารณาอยู่ 3 หลักดังนี้

                    1)  ระดับกำไร (Level of Profit) คือ การพิจารณาถึงโครงการหรืองานใดของบริการสาธารณะ
                       มีระดับหรือเพดานการแสวงหากำไรมากน้อยเพียงใด โดยแบ่งเป็น 2 ระดับคือ 1). ระดับ

                       การแสวงหากำไรจำกัด (Profit Moderation) คือ บริการสาธารณะที่แสวงหากำไรได้จำกัด
                       และเน้นหารายได้ให้พอเลี้ยงตัวเองเป็นสำคัญ ซึ่งโดยมากเป็นบริการพื้นฐานที่มีอยู่และทำ
                       เพื่อประโยชน์สาธารณะ และ 2). ระดับการแสวงหากำไรสูงสุด (Profit Maximization) คือ

                       บริการสาธารณะสามารถแสวงหากำไรสูงสุดตามกลไกตลาด ซึ่งมักเป็นบริการทางเลือกหรือ
                       บริการเสริมเพิ่มเติมจากบริการพื้นฐานปกติที่ระดับการแสวงหากำไรจำกัด โดยที่การจัด
                       บริการทางเลือกต้องไม่กระทบกับการบริการพื้นฐานที่มีอยู่และประโยชน์สาธารณะ
   502   503   504   505   506   507   508   509   510   511   512