Page 503 - kpi16531
P. 503

นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



                  1             ขั้นตอนที่หนึ่ง การเลือกประเภทบริการสาธารณะที่มี
                                ศักยภาพและความเป็นไปได้ในการจัดทำ (Potential Area):

                                หลักการพิจารณาความคิดสร้างสรรค์กับความต้องการ
                                การตรวจสอบทางกฎหมาย และทรัพยากร



                    ขั้นตอนที่หนึ่งมีความสำคัญที่สุดเนื่องจากต้องเลือกประเภทของบริการสาธารณะว่าท้องถิ่น
               ประสงค์จะดำเนินบริการสาธารณะประเภทใดบ้าง โดยพิจารณาเพียงกรอบแนวคิดกว้าง ๆ (Idea)
               ของประเภทของบริการสาธารณะเสียก่อนว่าท้องถิ่นต้องการทำอะไร ? ก่อนที่จะลงรายละเอียด

               ถึงโครงการและทรัพยากร (เช่น เงิน คน อุปกรณ์ ฯลฯ) เช่น เลือกบริการสาธารณะประเภทขนส่ง
               มวลชน การสาธารณสุข การศึกษา ฯลฯ



               หลักคิดสำหรับการพิจารณา


                    ขั้นตอนที่หนึ่งเราควรมีหลักการพิจารณาอยู่ 3 หลัก ดังนี้


                     1)   ความคิดสร้างสรรค์กับความต้องการ


                        ความต้องการหรือความใฝ่ฝันของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถึงสิ่งที่อยาก
               ทำมากที่สุด โดยอาจสำรวจจากข้อเรียกร้องหรือความต้องการของประชาชน มาจากความคิด
               สร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือความบังเอิญ หรือมากจากทุนทางสังคมและวัฒนธรรมภายใน
               พื้นที่ ฯลฯ


                     2)   การตรวจสอบทางกฎหมาย

                        การนำความคิดสร้างสรรค์หรือความต้องการมาพิจารณาถึงความเป็นไปได้ทาง

               กฎหมายให้มากที่สุด ว่าเปิดโอกาสให้จัดบริการสาธารณะประเภทใดบ้าง โดยในกรณีของไทยต้อง
               พิจารณาจาก 1). กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพ.ร.บ.การกระจายอำนาจฯ
               พ.ศ.2542 ที่ให้อำนาจหน้าที่การจัดบริการสาธารณะเป็นลำดับแรกและทำให้เราเห็นประเภท

               บริการสาธารณะได้ง่ายที่สุด ก่อนจะไปพิจาณาถึง 2). กฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการกำกับ
               ดูแลหรือวางมาตรฐานบริการสาธารณะแต่ละประเภท (เช่น บริการสาธารณะประเภทการสาธารณสุข
               ต้องพิจาณาถึงกฎหมายด้านการแพทย์และสาธารณสุข) และ 3). ข้อท้วงติงจากหน่วยงานรัฐที่วาง

               หลักการการดำเนินกิจการพาณิชย์ของท้องถิ่น

                        โดยการพิจารณากฎหมายต้องมิใช่เพื่อเห็นอุปสรรคแล้วไม่ทำ แต่เป็นเพื่อเห็น
               อุปสรรคเพื่อหาทางแก้ไข ซึ่งข้อกำหนดทางกฎหมายนี้อาจอาศัยวิธีการแก้ไขตามสถานการณ์

               ซึ่งคณะผู้วิจัยเห็นว่าควรแก้ไขอุปสรรคทางกฎหมายที่ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ในระยะ
               เวลาอันสั้นและรวดเร็วเสียก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับการบริหารงานของท้องถิ่นให้
               สามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการกำกับดูแลหรือวางมาตรฐานบริการ
   498   499   500   501   502   503   504   505   506   507   508