Page 505 - kpi16531
P. 505
นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตารางภาคผนวกที่ 3-1: ประเภทบริการสาธารณะที่ท้องถิ่นนิยมดำเนินการในรูปแบบกิจการพาณิชย์
ประเภทบริการสาธารณะ
1. การประปา 7. ขนส่งมวลชนทุกประเภท
2. การผลิตไฟฟ้า 8. การพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ
3. โรงฆ่าสัตว์ 9. สนามกีฬาและการสันทนาการ
4. โรงรับจำนำ 10. กิจการตลาด
5. บ่อบำบัดน้ำเสีย 11. การให้เช่าที่อยู่อาศัยและบริการสวนกลาง
6. การกำจัดขยะและการแปรรูปขยะ 12. การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เช่น
ศูนย์ประชุม / ห้องประชุม
ที่มา: สรุปจากการสำรวจของผู้วิจัย
2. ประเภทบริการสาธารณะที่ท้องถิ่นดำเนินการอยู่แล้วแต่มีความเป็นไปได้
ในการพัฒนาให้เป็นกิจการพาณิชย์หรือกิจการเพื่อสังคม
ศักยภาพและความเป็นไปได้: มาก-ปานกลาง
ผู้วิจัยพบว่ามีบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการด้วยตนเองจำนวนมาก
แต่ยังไม่ได้มีการพัฒนาให้เป็นกิจการพาณิชย์หรือกิจการเพื่อสังคม ซึ่งบริการเหล่านี้ดำเนินการ
ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะของกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น
1). พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 มาตรา 45-57 2). พระราชบัญญัติ
เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50-64 3). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ.2537 มาตรา 66-73 4). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528
มาตรา 89-108 และ 5). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542 มาตรา
62-79 รวมถึงพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16-19
โดยบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแต่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนา
ให้เป็นกิจการพาณิชย์หรือกิจการเพื่อสังคม เช่น การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะของเสียอันตรายและ
สิ่งปฏิกูล พิพิธภัณฑ์ สถานพยาบาล สถานศึกษา ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ห้องสมุด ศูนย์ผู้สูงอายุ การดูแล
และพัฒนาชายหาดและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า บริการสาธารณะเหล่านี้
สามารถเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้มีลักษณะทางธุรกิจโดยที่ยังคงสามารถจัดบริการ
สาธารณะให้ครอบคลุมกับความต้องการของประชาชนได้ เช่น การจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติ
การพัฒนาและจัดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบสองภาษาในโรงเรียนควบคู่ไปกับหลักสูตร
ปกติ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานของบริการสาธารณะให้มีลักษณะเป็น
“กิจการพาณิชย์” โดยตรงอาจมีความเสี่ยง เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางประเภทถูก