Page 500 - kpi16531
P. 500
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถหารายได้จากการพาณิชย์ ขององค์การบริหารส่วน
ตำบลตามมาตรา 82(3)
การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานในรูปของ “การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร”
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้
1) กรุงเทพมหานครสามารถจัดทำการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร กฎหมายอนุญาตให้
กรุงเทพมหานครสามารถตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินการพาณิชย์ตามมาตรา
97 (3) โดยให้ถือว่าข้อบัญญัติเกี่ยวกับการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเป็นข้อบัญญัติที่
เกี่ยวกับการเงินตามมาตรา 99 (5)
2) การกำหนดรูปแบบการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครที่ต้องดำเนินการร่วมกับผู้อื่น
โดยกฎหมายกำหนดให้กรุงเทพมหานครสามารถดำเนินการพาณิชย์ตามรูปแบบที่กฎหมาย
กำหนด โดยที่รูปแบบนั้นต้องเป็นการดำเนินกิจการร่วมกับคนอื่นในสามรูปแบบคือ
= การดำเนินการด้วยตนเอง เช่น การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครโดยจัด
ตั้งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกรุงเทพมหานครที่ไม่ได้มีการบริหารงานตามระบบราชการ
ของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งโดยอาศัยข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เช่น สำนักงาน
ตลาด กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพมหานคร ม.ป.ป.) เป็นต้น
= การก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัท โดยกรุงเทพมหานครสามารถก่อตั้งบริษัทหรือ
ถือหุ้นในบริษัทร่วมกับผู้อื่น ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ 1). บริษัทมีวัตถุประสงค์ดำเนินการ
เฉพาะกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคโดยต้องไม่กระทบกับกิจการที่กรุงเทพมหานคร
ดำเนินการอยู่แล้ว 2). กรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละ 50 ของทุน
ที่บริษัทจดทะเบียน อย่างไรก็ตามสามารถนับหุ้นรวมกันได้ในกรณีที่กรุงเทพมหานคร
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นในบริษัท
เดียวกัน 3). สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานครทั้งหมดในการก่อตั้งหรือถือหุ้นในบริษัท และ 4) ได้รับความเห็น
ชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามมาตรา 93
= การก่อตั้งสหการร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ
ส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีคณะกรรมการบริหารสหการที่มีผู้แทน
จากกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ
ส่วนท้องถิ่น โดยการจัดตั้งและยกเลิกสหการให้ทำโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ตามมาตรา 95
3) กรุงเทพมหานครสามารถดำเนินกิจการนอกเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่
การดำเนินการนั้นจำเป็นต้องกระทำและเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่