Page 266 - kpi16531
P. 266
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 2
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จำนวน รูปแบบการดำเนินการกิจการพาณิชย์
องค์การบริหาร 4 รูปแบบ 1). ลงทุนด้วยตนเอง (ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ)
ส่วนจังหวัด 2). จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นใหม่ (ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ)
3). สหการ (ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ)
4). เอกชนร่วมลงทุน (ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ
และพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
พ.ศ.2556)
กรุงเทพมหานคร 4 รูปแบบ 1). การดำเนินการด้วยตนเอง
2). การก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัท (มาตรา 94)
3). การก่อตั้งสหการร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น (มาตรา 94)
4). เอกชนร่วมลงทุน (พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนใน
กิจการของรัฐ พ.ศ.2556)
เมืองพัทยา 3 รูปแบบ 1). การดำเนินการด้วยตนเอง
2). การก่อตั้งสหการร่วมกับหน่วยงานราชการ หน่วยงาน
ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(มาตรา 69)
3). เอกชนร่วมลงทุน (พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุน
ในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556)
องค์การบริหารส่วนตำบล 2 รูปแบบ 1). การดำเนินการด้วยตนเอง โดยกฎหมายจัดตั้งมิได้ระบุให้
สามารถดำเนินการในรูปแบบอื่นได้
2). เอกชนร่วมลงทุน (พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุน
ในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556)
ที่มา: ผู้วิจัย
4) การกำหนดประเภทของบริการสาธารณะที่สามารถจัดทำเป็นกิจการ
พาณิชย์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยสามารถดำเนินกิจการพาณิชย์ได้ตามอำนาจหน้าที่
ที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น 1). พระราชบัญญัติองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 45-57 2). พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา
50-64 3). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 66-73
4). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 89-108 และ 5).
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 62-79 (ตันไชย และ มีสุข,
โครงการศึกษาระบบการปกครองท้องถิ่นของราชอาณาจักรไทย 2557, 156)
นอกจากนี้ยังกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวดสองได้กำหนดอำนาจ
หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะเพิ่มเติมคือ 1). อำนาจหน้าที่ของ