Page 263 - kpi16531
P. 263
2 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แผนภาพที่ 13: สรุปรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
ที่มา: คณะผู้วิจัย
โดยการเลือกทำกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องพิจารณาคำนึงถึงเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ และประเภทของบริการสาธารณะที่จะดำเนินการก่อน
จะเลือกรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมที่ใช้ดำเนินการ โดยมีมิติการพิจารณาอยู่ 4 มิติ
คือ 1). ความเหมาะสมของประเภทบริการสาธารณะ 2). ระดับการหาผลประโยชน์และการแสวงหา
กำไร 3). บุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายของบริการสาธารณะ และ 4). ความสอดคล้องระหว่างประเภท
ของบริการสาธารณะและรูปแบบของกิจการพาณิชย์/กิจการเพื่อสังคม
ส่วนการดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมในต่างประเทศจากกรณีศึกษา
ในประเทศสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เห็นได้ว่าในกรณีของกิจการพาณิชย์
(Local Public Enterprise) จะดำเนินการทั้งในรูปแบบดำเนินกิจการด้วยตนเอง การดำเนินกิจการ
ผ่านการจัดตั้งบริษัทที่เป็นนิติบุคคลเอกชน และการดำเนินงานองค์กรของท้องถิ่นที่เป็นนิติบุคคล
มหาชน ส่วนการดำเนินรูปแบบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) พบว่าในสหราชอาณาจักร
ที่รัฐบาลท้องถิ่นได้ถ่ายโอนหรือว่าจ้างกิจการเพื่อสังคมจัดบริการสาธารณะ ทั้งกิจการเพื่อสังคม
ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลส่วนท้องถิ่นเองหรือกิจการเพื่อสังคมของเอกชน
โดยการดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมในต่างประเทศมีลักษณะสำคัญใน
4 ด้านคือ 1). มีการตรากฎหมายว่าด้วยกิจการพาณิชย์ที่กำหนดประเภทของบริการสาธารณะและ
รูปแบบของกิจการพาณิชย์ที่สามารถดำเนินการได้อย่างชัดเจน 2). กิจการพาณิชย์ของรัฐบาล
ท้องถิ่นส่วนใหญ่มักมีสถานะเป็นนิติบุคคลที่แยกออกจากโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบนิติบุคคลเอกชนที่เป็นบริษัทจำกัด
ตามกฎหมายธุรกิจ 3). กิจการเพื่อสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดตั้งได้อย่างอิสระ
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งกิจการเพื่อสังคมแต่ละประเภทแต่อาจออกกฎหมายหรือแนวทางการ
กำกับดูแลกิจการเพื่อสังคมที่ดำเนินงานให้กับรัฐบาลท้องถิ่น และ 4). กิจการพาณิชย์ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินงานแข่งขันกับเอกชนได้ตราบเท่าที่ยังมีศักยภาพในการแข่งขัน