Page 264 - kpi16531
P. 264
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 2
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.3 สถานการณ์เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อ
สังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
ในส่วนนี้จะศึกษาใน 3 ด้านคือ 1). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น 2). สถานการณ์ภาพรวมของการดำเนินกิจการพาณิชย์ในประเทศไทย และ 3). กรณี
ศึกษาการดำเนินกิจการพาณิชย์ในประเทศไทย
3.3.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ภาพรวมกฎหมายการจัดทำกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมของท้องถิ่นมี 4 ลักษณะ
คือ
< พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (ดูรายละเอียดตามตารางที่ 45)
< พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ พระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติ
สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
เมืองพัทยา พ.ศ. 2542 (ดูรายละเอียดตามตารางที่ 45)
< กฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น คือ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการพาณิชย์ของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2541 โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ออก
ระเบียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์ (ดูรายละเอียดตามตารางที่ 45)
< กฎหมายอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.
2556 พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และ
กฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการทะเบียนมูลนิธิ
พ.ศ. 2545
กฎหมายกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสาระสำคัญ
ดังนี้
1) ความหมายของกิจการพาณิชย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการพาณิชย์ของไทยยังไม่มีการนิยามความหมายของกิจการ
พาณิชย์ไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ แต่ในกฎหมายลำดับรองมีการให้นิยามไว้เช่น ระเบียบ
กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2541
ข้อ 4 ได้นิยามความหมายของ “กิจการพาณิชย์” ว่าหมายถึง “การดำเนินการที่มีผลประโยชน์ในทาง
ธุรกิจ” ส่วนบันทึกกรมการปกครองเสนอบทวิเคราะห์ศัพท์เพื่อขอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ