Page 262 - kpi16531
P. 262
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 2
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยังเห็นสมควรให้ดำเนินกิจการพาณิชย์ เว้นแต่ถ้าเห็นสมควรว่าบริการ
สาธารณะใดที่กิจการพาณิชย์ท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการได้ดีเท่าเอกชน
ก็อาจมีแนวนโยบายที่จะเลิกหรือถ่ายโอนบริการสาธารณะให้เอกชนมา
ดำเนินการแทน เช่น มีการขายหรือถ่ายโอนกิจการเดินรถประจำทางของ
รัฐบาลท้องถิ่นในสหราชอาณาจักร แต่ก็ยังมีรัฐบาลท้องถิ่นบางแห่งที่ยังเป็น
เจ้าของในการดำเนินกิจการเดินรถประจำทางอยู่ เป็นต้น
3.2. สรุปความหมายและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์ กิจการ
เพื่อสังคม และการจัดบริการสาธารณะ
จากการศึกษาแนวคิดกิจการพาณิชย์ กิจการเพื่อสังคมและการจัดบริการสาธารณะ พบว่ามี
รูปแบบการดำเนินกิจการอยู่ 2 ลักษณะคือ
1). รูปแบบกิจการพาณิชย์ (Local Public Enterprise) คือกิจการที่ท้องถิ่นจัดตั้งเพื่อ
ดำเนินงานบริการสาธารณะสำหรับหารายได้ โดยที่กิจการพาณิชย์สามารถดำเนินงานแข่งขัน
กับเอกชนได้ แต่การดำเนินบริการสาธารณะและการแสวงหาผลกำไรของกิจการพาณิชย์ต้องคำนึงถึง
ประโยชน์สาธารณะที่ให้กับชุมชนท้องถิ่น (Community Benefit) โดยมี 3 รูปแบบคือ 1). การดำเนิน
กิจการด้วยตนเอง 2). การดำเนินกิจการผ่านการจัดตั้งบริษัทที่เป็นนิติบุคคลเอกชน และ
3). การดำเนินงานผ่านการจัดตั้งองค์กรของท้องถิ่นที่เป็นนิติบุคคลมหาชน
2). รูปแบบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือ กิจการที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อมุ่งหา
ผลกำไรสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นเหมือนกับบริษัทเอกชน แต่มุ่งดำเนินกิจการเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายทาง
สังคมและสิ่งแวดล้อมของสมาชิกหรือชุมชนได้แก่ การปรับปรุงบริการสาธารณะ การพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาชุมชน และการดูแลคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม โดยกิจการเพื่อสังคมต้องมีความสามารถใน
การพึ่งพาและเลี้ยงดูตนเองได้เพื่อลดภาระทางงบประมาณของภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพิ่มความคล่องตัวในการจัดบริการสาธารณะ โดยบุคลากรของกิจการเพื่อสังคมและผู้ใช้บริการของ
กิจการเพื่อสังคมควรมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดต่อกันและมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของกิจการ
โดยกิจการเพื่อสังคมอาจเป็นได้ทั้ง 1). กิจการสังคมที่ริเริ่มจากรัฐบาลท้องถิ่นโดยตรง หรือ
2). กิจการเพื่อสังคมของเอกชนที่รัฐบาลท้องถิ่นให้การสนับสนุน
รูปแบบการดำเนินกิจการเพื่อสังคมที่ปรากฏมีฐานะเป็นนิติบุคคลใน 4 รูปแบบได้แก่
1). รูปแบบกิจการที่แรงงานเป็นเจ้าของ (Employee ownership) 2).รูปแบบสหกรณ์ (Co-
operatives) 3). รูปแบบบริษัทเพื่อสังคม (Social firms) และ 4). รูปแบบมูลนิธิการกุศลที่ทำการค้า
(Trading Charity)