Page 225 - kpi16531
P. 225
20 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Enterprise) ถือเป็นหนึ่งในแนวทางการหารายได้ของท้องถิ่นที่นิยมในหลายประเทศ แต่ในประเทศ
ไทยยังขาดความชัดเจนด้านแนวคิดและมีข้อจำกัดทั้งทางกฎหมายและศักยภาพขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมสามารถหารายได้ให้แก่
องค์กรปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ จึงควรศึกษาแนวทางการ
ดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมในด้านแนวคิด กรณีศึกษาของต่างประเทศ สถานการณ์
และข้อจำกัดการดำเนินงานในประเทศไทย เพื่อสร้างข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อสร้างศักยภาพให้
กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมในอนาคต
โดยงานวิจัยชิ้นนี้จะแบ่งหัวข้อการศึกษาออกเป็น 4 ส่วนคือ
1) ความหมายและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์และจัดบริการสาธารณะ
2) สถานการณ์เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
3) สภาพปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินกิจการพาณิชย์ในประเทศไทย
4) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการดำเนินกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในประเทศไทย
3.2 ความหมายและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์
กิจการเพื่อสังคม และการจัดบริการสาธารณะ
ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะศึกษาแนวคิดและวิธีการเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์ กิจการเพื่อสังคม และการจัด
บริการสาธารณะโดยอธิบายออกเป็น 5 หัวข้อคือ 1). แนวคิดและรูปแบบของกิจการพาณิชย์ (Local
Public Enterprise) 2). แนวความคิดเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) 3). ประเภท
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบริการสาธารณะที่ควรจัดทำในรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อ
สังคม 4). กรณีศึกษาการจัดทำกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมในต่างประเทศ และ 5). สรุป
3.2.1 แนวคิดและรูปแบบของกิจการพาณิชย์ (Local Public Enterprise)
จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีผู้ให้ความหมายของกิจการพาณิชย์ไว้หลายลักษณะ
เช่น ชูวงศ์ ฉายะบุตร เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถหารายได้จากสาธารณูปโภคหรือ
ประกอบการพาณิชย์ได้ (ฉายะบุตร 2539, 311) หรือประทาน คงฤทธิศึกษากรเห็นว่าการประกอบ
“การพาณิชย์ของท้องถิ่น (Local government enterprise)” คือกิจกรรมที่ท้องถิ่นดำเนินการในเชิง
การค้าเพื่อหาผลประโยชน์ โดยที่กิจการพาณิชย์ควรจัดตั้งเพื่อให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก
โดยที่ดอกผลของการดำเนินการพาณิชย์ถือเป็นรายได้ของท้องถิ่น (คงฤทธิศึกษากร 2526, 96)
โดยมีบริการสาธารณะหลายประเภทที่สามารถจัดเป็นการพาณิชย์ได้เช่น การประปา ไฟฟ้า แก๊ส
การขนส่ง สถานธนานุบาล การตลาด การสร้างท่าเทียบเรือ ที่จอดรถ สถานีจำหน่ายน้ำมัน โรงแรม
เป็นต้น
ส่วนเวปไซต์ community-wealth.org/ ได้ให้ความหมายของกิจการพาณิชย์ (Municipal
enterprises) ว่าเป็นกิจการธุรกิจที่รัฐบาลท้องถิ่นเป็นเจ้าของที่มีหน้าที่จัดหาบริการและสร้างรายได้