Page 224 - kpi16531
P. 224
3.1 บทนำ
การพัฒนาแนวทางการเพิ่มรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเป้าหมาย
ในการสร้างความเป็นอิสระกับความยั่งยืนทางด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
ให้มีรายได้ของตัวเองสำหรับการจัดทำบริการสาธารณะ เพราะความสามารถในการหา
รายได้ของท้องถิ่นเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะ
พึ่งตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพารายได้จากรัฐบาลกลางผ่านการเพิ่มรายได้ของ
ท้องถิ่นนั้นมีอยู่หลายรูปแบบเช่น การจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม การได้รับเงินอุดหนุน
จากภาครัฐ หรือรายได้จากการเก็บค่าบริการหรือทรัพย์สิน เป็นต้น แต่ในกรณีของ
ประเทศไทยการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังพึ่งพารายได้จาก
เงินอุดหนุน โดยในพ.ศ.2556 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายรับจากเงินอุดหนุนสูงถึง
219,039.74 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.3 ของรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งหมด แต่รายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเองกลับมีสัดส่วนเพียงร้อยละ
8.78 ของรายได้ทั้งหมด ที่มาจากการจัดเก็บภาษีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจ
จัดเก็บเองทุกขั้นตอนเป็นส่วนใหญ่ (ตันไชย และ มีสุข 2557, 84-85)
เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีช่องทางจัดหารายได้หนึ่งในแนวทางการเพิ่ม
รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกแนวทางหนึ่งคือการดำเนินกิจการพาณิชย์
หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Local Government Enterprise หรือ Local Public
Enterprise หรือ Municipal Enterprise รวมถึงการดำเนินกิจการเพื่อสังคม (Social
1
1 ในงานวิจัยชิ้นนี้ผู้วิจัยเลือกใช้ “Local public enterprises” เป็นคำภาษาอังกฤษของกิจการ
พาณิชย์ แต่ถ้ามีการอ้างอิงเอกสารใดที่มีการใช้คำภาษาอังกฤษนอกเหนือจากคำนี้ ผู้เขียนจะวงเล็บ
คำภาษาอังกฤษตามเอกสารต้นฉบับที่นำมาใช้