Page 220 - kpi16531
P. 220

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     203
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 ตารางที่ 36: รายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการน้ำตกร้อนสะพานยูง ช่วงปี พ.ศ.
                 2548-2556


                    ปีงบ      การเข้าใช้บริการ      ยานพาหนะ             บ้านพัก               รวม
                   2548           92,106          2,603,335.00              -             2,712,526.00

                   2549          128,046          3,757,315.00              -             3,907,776.00
                   2550          150,747          4,647,285.00              -             4,820,629.00
                   2551          128,097          5,110,730.00              -             5,262,132.00

                   2552          166,255          6,128,315.00              -             6,325,384.00
                   2553          170,745          6,728,745.00          49,800.00         6,771,945.00

                   2554          154,463          6,815,820.00          27,600.00         6,843,420.00
                   2555          182,604          8,062,490.00          27,600.00         8,081,689.00

                   2556          236,081          10,552,175.00             -            10,297,080.00
                    รวม        1,409,144         54,406,210.00        105,000.00        55,022,581.00

                 ที่มา: องค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ


                 2. .3 ข้อเสนอเชิงองค์กร


                         ผู้วิจัยมีข้อเสนอเชิงองค์กร เพื่อเป็นมาตรการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพขององค์กร
                 ปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                         1) การสร้างแรงบันดาลใจและปรับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารท้องถิ่น


                           ภาครัฐควรสร้างแรงบันดาลใจและปรับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารท้องถิ่นให้เล็งเห็นถึง
                 ความสำคัญของการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ โดยผู้บริหารท้องถิ่นควรตระหนักว่า
                 ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะเป็นช่องทางหรือโอกาสในการพัฒนารายได้ด้วยตนเองของ

                 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้ไม่สามารถพัฒนารายได้เป็นจำนวนมาก แต่ก็สามารถช่วยพัฒนา
                 รายได้ให้มีงบประมาณรายรับสมดุลกับงบประมาณรายจ่ายมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ใน

                 ทางการคลัง การมีความเข้มแข็งทางการคลัง และการมีอิสรภาพทางการคลังมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รัฐควร
                 สร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างแรงบันดาลใจ และปรับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารท้องถิ่นให้ตระหนักว่า
                 ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการพัฒนารายได้ด้วยตนเองของ
                 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                         2) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรท้องถิ่น

                           ภาครัฐควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากรท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้

                 บริการสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและการกำหนดโครงสร้าง
                 ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ เพื่อให้บุคลากรท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปใช้
                 ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม เมื่อบุคลากรท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดอัตรา
                 ค่าธรรมเนียมและโครงสร้างค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะแล้ว ย่อมจะช่วยแก้ไขปัญหาความ
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225