Page 22 - kpi13391
P. 22
การปกครองท้องถิ่น
ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
กรีกในสมัยโบราณ ที่พลเมืองเพศชายที่อายุบรรลุนิติภาวะสามารถใช้สิทธิ
ของตนเองในการออกเสียงได้โดยตรง ที่สำคัญนั้นก็คือการเมืองในระดับ
ชาติเอง ประชาชนสวิสเซอร์แลนด์ก็ได้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนในเรื่อง
ต่างๆ ที่ประชาชนเห็นว่าสำคัญได้ หากมีผู้ร่วมเห็นด้วยเป็นจำนวนมาก
ในการเข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือเสนอร่างกฎหมาย ซึ่งมีคนกล่าว
กันว่านับเป็นการพัฒนาของประชาธิปไตยทางตรงที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ได้โดยไม่ต้องผ่านผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเลือก
“ประชาชนมีสิทธิอย่างกว้างขวางที่จะมีอิทธิพลโดยตรงและแสดง
ความคิดเห็นต่อนโยบายเรื่องต่างๆ ในทุกระดับ ประชาชนซึ่งต้องการ
เสนอแนวคิดของตนเองสามารถทำได้โดยการใช้สิทธิเสนอร่างกฎหมาย
(Initiative) ส่วนประชาชนที่ต้องการคัดค้านกฎหมายใดๆ ซึ่งผ่าน
รัฐสภาแล้วก็สามารถทำได้โดยการทำประชามติ ซึ่งทั้งการใช้สิทธิเสนอ
ร่างกฎหมายและการทำประชามตินั้นมีข้อผูกพันให้ผู้มีอำนาจต้องนำ 15
ประเด็นดังกล่าวกลับมาให้ประชาชนทั้งประเทศตัดสินใจ นอกเหนือจาก
สิทธิในการเสนอร่างกฎหมาย ประชาชนยังสามารถเสนอให้มีการลงมติ
เพื่อตัดสินใจแก้ไข และเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้” 13
รัฐธรรมนูญ มาตรา 138 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนให้ประชาชนผู้มี
สิทธิเลือกตั้งจำนวน 100,000 คน สามารถเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์ได้ และการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญนั้น ก็จะสิ้นสุดโดยการลงมติของประชาชน
ในส่วนการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายนั้น มาตรา 139a ของ
รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์ ก็ได้บัญญัติไว้ถึงจำนวน
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่าให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 100,000
13 สิริพรรณ นกสวน, การเมืองการปกครองสวิสเซอร์แลนด์, หน้า 115.