Page 46 - kpi12821
P. 46

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                             อย่างไรก็ดี หากคำนึงแต่เฉพาะสภาพบริบททางการเมืองของประเทศที่

                   เผชิญหรือเคยเผชิญปัญหาภัยคุกคามจากพรรคการเมือง และมีการใช้มาตรการยุบ
                   พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือขจัดปัญหาดังกล่าวแต่เพียงด้านเดียว โดยไม่พิจารณาถึง
                   ระดับพัฒนาการของประชาธิปไตยซึ่งให้น้ำหนักความสำคัญแก่พรรคการเมืองในฐานะ
                   ตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชน ตลอดจนความหลากหลายทางการเมืองอันเป็นหัวใจ
                   หลักของระบอบประชาธิปไตยที่จะธำรงรักษาไว้ได้ก็แต่เฉพาะภายใต้บริบทการมีหลาย

                   พรรคการเมืองและการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการรวมกลุ่ม และ
                   เสรีภาพของพรรคการเมืองเท่านั้น กรณีอาจจะกลายเป็นว่า งานวิจัยนี้ไปนำกฎหมาย
                   ของประเทศที่ปกครองภายใต้ระบอบอำนาจนิยม (Authoritarian Regime) มาเป็นต้น

                   แบบในการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อปรับปรุงกฎหมายไทย อันอาจเป็นการถอยหลังเข้า
                   คลอง ซึ่งมิใช่เป้าประสงค์ของงานวิจัยที่มุ่งหมายเพื่อปรับปรุงให้กฎหมายเกี่ยวกับการ
                   ยุบพรรคการเมืองของไทยสอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย


                             ดังนั้น การคัดเลือกประเทศโดยอาศัยหลักเกณฑ์ประวัติศาสตร์และบริบท
                   ทางการเมืองของประเทศนั้นๆ จึงต้องพิจารณาจากสองปัจจัยคือ (ก) เผชิญหรือเคย
                   เผชิญกับปัญหาระบบการเมืองที่พรรคการเมืองเป็นต้นเหตุ และมีการใช้มาตรการยุบ
         1
                   พรรคการเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และ (ข) เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับระดับ

                   สากลว่าปกครองในระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ

                             ในการนี้ ผู้วิจัยจะอาศัยดัชนีชี้วัดการเคารพหลักนิติรัฐประจำปี ค.ศ. 2008

                   ในโครงการตัวชี้วัดธรรมาภิบาลระดับโลกของธนาคารโลก (The Worldwide
                   Governance Indicators project - WGI)  และดัชนีชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย
                                                         11
                   ค.ศ. 2008 (Democracy Index 2008) ของวารสาร The Economist  เป็นฐานใน
                                                                                12


                      11   โครงการตัวชี้วัดธรรมาภิบาลระดับโลกของธนาคารโลกนี้สำรวจข้อมูล 202 ประเทศทั่วโลก ระหว่างปี
                   ค.ศ. 1996 – 2008 โดยอาศัยเกณฑ์ 6 ข้อ ได้แก่ (ก) ความสำคัญและความรับผิดชอบต่อประชาชน (ข) ความ
                   มั่นคงทางการเมืองและการปราศจากการใช้ความรุนแรง (ค) ประสิทธิภาพของรัฐบาล (ง) คุณภาพของระบบ
                   ควบคุมกำกับของภาครัฐ (จ) การเคารพหลักนิติรัฐ และ (ฉ) การควบคุมการคอร์รัปชั่น โปรดดู http://
                   info.worldbank.org/governance/wgi/index.asp เข้าถึงข้อมูล ณ วันที่ 30 มกราคม 2553

                      12   ดัชนีชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยของวารสาร The Economist สำรวจจาก 167 ประเทศทั่วโลก โดย
                   ใช้เกณฑ์ (1) การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม (2) ความมั่งคงปลอดภัยของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (3) อิทธิพลของต่างชาติ
                   ที่มีต่อรัฐบาล และ (4) ความสามารถของข้าราชการในการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ จากนั้น จึงประมวลผลแบ่ง
                   เป็น 4 ระดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ Full Democracy, Flawed Democracy, Hybrid Regime, และ
                   Authoritarian Regime ตามลำดับ โปรดดู http://www.economist.com เข้าถึงข้อมูล ณ วันที่ 30 มกราคม
                   2553
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51