Page 42 - kpi12821
P. 42
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
ทางการเมืองของประชาชนได้ และหากกลุ่มที่เรียกว่าพรรคการเมืองนี้ต้องการมีสถานะ
นิติบุคคลเพื่อให้มีสิทธิหน้าที่ต่างๆ ตามกฎหมายก็มักจะไปจดทะเบียนจัดตั้งในรูป
สมาคม (Association)
ในทางตรงกันข้าม ประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประเทศที่เคยเผชิญวิกฤติการณ์ทางการเมืองอันเป็นผลมาจากพฤติกรรมของ
พรรคการเมือง เช่น สเปน โปรตุเกส ตุรกี เกาหลีใต้ หรือเป็นประเทศประชาธิปไตยเกิด
ใหม่ในยุโรปตะวันออก อาทิ รัสเซีย โรมาเนีย อาร์เมเนีย ฯลฯ ซึ่งมุ่งหมายจะสถาปนา
ระบบหลายพรรคการเมือง (Multi-party System) ให้เกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างมั่นคง
ภายหลังที่ตกอยู่ภายใต้ระบบการเมืองพรรคเดียวคือ พรรคคอมมิวนิสต์ มานานถึงเกือบ
ครึ่งศตวรรษ การรวมตัวกันของบุคคลเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองในกลุ่มประเทศเหล่านี้
จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับ เพื่อประโยชน์ทั้งในด้านการควบคุมและในด้านการ
ส่งเสริมพรรคการเมือง ดังนั้น การรวมกลุ่มจัดตั้ง “พรรคการเมือง” จึงถูกบังคับให้ต้อง
จดทะเบียนหรือจดแจ้งกับภาครัฐก่อน จึงจะมีสถานะนิติบุคคล “พรรคการเมือง” และ
จึงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชนผ่านการ
เลือกตั้งได้ ซึ่งกฎหมายของไทยเราก็จัดอยู่ในกลุ่มที่ว่านี้ด้วย
10
จริงอยู่ที่ระบบกฎหมายของอังกฤษ นิวซีแลนด์ แคนนาดา และอีกหลาย
ประเทศ ยอมรับว่า การรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นสิทธิตามธรรมชาติของ
บุคคล และไม่จำเป็นต้องอาศัยการรับรองจากภาครัฐ แต่ด้วยความสลับซับซ้อนของ
ระบบการเลือกตั้งโดยเฉพาะการเลือกตั้งแบบสัดส่วนหรือบัญชีรายชื่อ (Proportional
Representation/Party List) ความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการเงินของพรรคการเมือง
ให้เกิดความโปร่งใส และการที่รัฐเห็นควรต้องให้การสนับสนุนแก่พรรคการเมือง ก็เป็น
สาเหตุให้ประเทศเหล่านั้นกำหนดให้พรรคการเมืองต้องจดทะเบียน ขึ้นทะเบียน หรือ
จดแจ้งกับภาครัฐก่อน จึงจะเข้าร่วมกระบวนการเลือกตั้งในนาม “พรรคการเมือง” ได้
แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมิได้บังคับให้พรรคการเมืองต้องจดทะเบียนเพื่อให้มีสถานะเป็น
นิติบุคคล “พรรคการเมือง” ก่อนการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ ก็ตาม
ตัวอย่างเช่น อังกฤษบังคับให้พรรคการเมืองต้องจดทะเบียนกับคณะ
กรรมการการเลือกตั้ง มิเช่นนั้น ไม่สามารถใช้คำว่า “พรรค” ในการหาเสียงเลือกตั้งได้
และย่อมไม่ได้รับการจัดสรรเวลาออกอากาศวิทยุและโทรทัศน์ที่จัดให้แก่พรรคการเมือง
4
4 United Kingdom: Political Parties, Elections and Referendums Act 2000, §22 และ
§ 37 (1); และโปรดดู Bradley and Ewing, Constitutional and Administrative Law, (London:
Longman, 14 edition, 2007), น. 162–163.