Page 44 - kpi12821
P. 44
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาแต่เฉพาะกฎหมายของ (ก) ประเทศที่บัญญัติเกี่ยวกับ
เหตุ กระบวนการ และผลของการยุบพรรคการเมืองโดยละเอียด และที่มี (ข) คดี
ตัวอย่างดังเช่นที่ปรากฏในกฎหมายพรรคการเมืองและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
ของไทย
8.4 การเป็นต้นแบบศึกษาเปรียบเทียบในการจัดทำยกร่าง
หรือพิจารณาร่างกฎหมายพรรคการเมืองของไทย
พรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ประเทศไทยรับสืบทอดมาจากประเทศตะวันตก
เช่นเดียวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และกฎหมายพรรคการเมืองไทยก็เป็น
ผลจากการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายพรรคการเมืองของต่างประเทศ กล่าวโดย
เฉพาะเจาะจงก็คือ เยอรมนี ตุรกี และเกาหลีใต้ ความข้อนี้ ปรากฏชัดในบันทึกความ
เห็นของศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาใน
การพิจารณาตรวจร่างพระราชบัญญัติพรรคการเมืองที่เสนอโดยกระทรวงมหาดไทย
8
ซึ่งต่อมาถูกตราขึ้นเป็นพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 นอกจากนี้ ในการ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ....
1 (กฎหมายพรรคการเมืองฉบับปัจจุบัน) โดยคณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่ง
ชาติ ซึ่งผู้วิจัยร่วมเป็นอนุกรรมาธิการด้วยนั้น ก็ได้มีการแจกจ่ายกฎหมายพรรคการเมือง
ของอังกฤษ เยอรมนี และเกาหลีใต้ให้แก่กรรมาธิการและอนุกรรมาธิการเพื่อใช้
ประกอบการพิจารณา และมีการอภิปรายอ้างอิงถึงกฎหมายต่างๆ เหล่านั้นด้วย
งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาที่กฎหมายของประเทศซึ่งใช้เคยประโยชน์ใน
การศึกษาเปรียบเทียบเพื่อจัดทำยกร่างกฎหมายพรรคการเมืองไทย
8.5 ประวัติศาสตร์และบริบททางการเมือง
แม้งานวิจัยฉบับนี้จะศึกษาหลักนิติศาสตร์เพื่อเสนอแนะแนวทางปรับปรุง
กฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองโดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์กฎหมายในเชิง
กฎเกณฑ์ (Normative Analysis of Law) เป็นหลัก แต่ในการศึกษาก็จำต้องอาศัย
องค์ความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา
หรือแม้แต่เศรษฐศาสตร์การเมือง กล่าวอีกนัยหนึ่ง อาศัยวิธีการวิเคราะห์กฎหมายเชิง
ประวัติศาสตร์และสังคมวิทยาควบคู่กันไปด้วย (Historical and Sociological Study
8 หยุด แสงอุทัย, คำอธิบายพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511, (กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์,
2512), น. 88 – 91.