Page 47 - kpi12821
P. 47

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    การประเมิน โดยมุ่งศึกษากฎหมายของประเทศที่ได้คะแนนในระดับสูงกว่าหรือเท่ากับ

                    ประเทศไทยทั้งสองดัชนี กล่าวคือ ดัชนีชี้วัดการเคารพหลักนิติรัฐต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ
                    54 และดัชนีชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยต้องได้ระดับ Full Democracy หรือระดับ
                    Flawed Democracy ที่มีคะแนนไม่ต่ำกว่า 6.81 จากคะแนนเต็ม 10.00


                          8.6 ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล

                               อนึ่ง แม้ว่าบางประเทศ เช่น โปรตุเกส หรือโรมาเนียจะมีลักษณะหลาย

                    อย่างเข้าหลักเกณฑ์การคัดเลือกประเทศเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ เช่น มีกฎหมาย
                    พรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องจดทะเบียน มีบทบัญญัติและคดีเกี่ยวกับการยุบ
                    พรรคการเมืองที่หลากหลาย แต่ด้วยความที่มีเอกสารในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                    น้อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถศึกษาให้ครบถ้วนทุกมิติที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการ
                    วิเคราะห์ได้ ดังนั้น ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูลก็เป็นอีกหนึ่งเหตุปัจจัยในการเลือก

                    กฎหมายของประเทศนั้นๆ ขึ้นมาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ
                               (โปรดดู ตารางที่ 1 การคัดเลือกประเทศเพื่อศึกษาเปรียบเทียบในหน้า 17)


                               จากการพิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ข้างต้น พบว่า มีเพียงเกาหลีใต้     1
                    ประเทศเดียวที่ครบทุกหลักเกณฑ์ ปัจจัยการพิจารณาชี้ขาดต่อมาคือ เรื่องความยากง่าย
                    ในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ และพิจารณาคัดเลือกประเทศที่
                    เข้าหลักเกณฑ์มากที่สุด คือ 5 ข้อ ได้แก่ เยอรมนี สเปน และตุรกี ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเลือก

                    ศึกษากฎหมายพรรคการเมืองและคดียุบพรรคการเมืองของ 4 ประเทศนี้ เพื่อใช้เปรียบ
                    เทียบกับกฎหมายไทย ทั้งในมิติเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง กระบวนการยุบ
                    พรรคการเมือง และผลของการยุบพรรคการเมือง รวมทั้งมาตรการทางเลือกอื่นๆ เพื่อ
                    ใช้ทดแทนการยุบพรรคการเมือง ส่วนประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ อาจนำกฎหมาย

                    พรรคการเมืองและคดียุบพรรคการเมืองของประเทศเหล่านั้นมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ
                    เป็นเรื่องๆ ไปเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง


                               อนึ่ง ประเทศเยอรมนี แม้ไม่มีหลักเกณฑ์การบังคับให้พรรคการเมืองต้อง
                    จดทะเบียนหรือจดแจ้งการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล “พรรคการเมือง” แต่กฎหมาย
                    พรรคการเมืองเยอรมันก็มีจุดเด่นตรงที่เป็นต้นแบบของกฎหมายพรรคการเมืองฉบับ
                    ต่างๆ ค่อนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นที่ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองและหลัก

                    ประชาธิปไตยซึ่งพร้อมที่จะป้องกันตนเอง (Militant Democracy) 13

                       13   Andras Sajo, “From Militant Democracy to the Preventive State?,” Cardozo Law Review,
                    Vol. 27, No. 5 (April 2006) น. 2262.
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52